วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ตำนานๆ 009020 : เปิดปูมราชวงศ์

ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/fG8ycMae/The_Royal_Legend_020_.html
หรือที่  : 
http://www.mediafire.com/?4lb3lu7d374mq3m
       
\..............


ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีรากฐานมาจากลัทธิฮินดูและศาสนาพุทธ ที่เผยแผ่สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในราวพ.ศ. 800 โดยมีรากฐานของนักรบกึ่งเทพเจ้า ที่เรียกกันว่ากษัตริย์ ซึ่งมีความสามารถทางด้านการรบ และมีความเที่ยงธรรม ใช้ธรรมในการปกครองโลก ไม่ใช่แบบมนุษย์ปกครองกันเองตามอำเภอใจ

มีการสั่งสอนให้เชื่อว่าการทำบุญสร้างความดี ส่งผลบุญให้มีชีวิตที่ดีในชาติหน้า การมีชีวิตที่ดีในชาตินี้ เป็นผลกรรมที่ทำความดีจากชาติก่อน กษัตริย์ก็คือ ผู้ที่ได้สร้างกุศลผลบุญ มาจากชาติปางก่อน และเหมาะสมที่จะเป็นกษัตริย์เพราะปกครองโดยหลักธรรม


การสถาปนากษัตริย์อาศัยการสืบต่อด้วยสายโลหิตแท้ ประชาชนจะต้องเชื่อเรื่องราวที่กษัตริย์มีความสามารถนานาประการ เป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ ดุจดังเทพเจ้าที่สืบสายโลหิตเดียวกันมาสู่ลูกหลานเหลน แต่ในทางพุทธศาสนาถือว่า กรรมเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ไม่ใช่การสืบต่อทางสายเลือด กรรมเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลที่ต้องสร้างกันเอาเอง ไม่ใช่เรื่องศักดิ์สิทธิ์ของบุญบารมี ที่ผูกขาดเฉพาะลูกหลานของกษัตริย์เท่านั้น

กษัตริย์ราชวงศ์จักรี มักจะอ้างว่าพระเจ้ารามคำแหงคือกษัตริย์ที่เป็นต้นแบบ ของราชวงศ์จักรีที่ปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นคนแรก และราชวงศ์จักรีได้นำมาเป็นแบบอย่างในการปกครองประเทศมาโดยตลอด เพราะการสืบต่ออำนาจของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาโดยผ่านทางสายเลือดนั้นมักจะไม่ราบรื่นเต็มไปด้วยการฆ่าฟันแย่งชิงราชสมบัติ

ราชวงศ์จักรีซึ่งก็มาจากชนชั้นปกครองในสมัยอยุธยาจึงต้องแก้ภาพลักษณ์ของตนโดยสร้างความเชื่อกระทั่งสร้างหลักศิลาจารึกขึ้นมาใหม่ ว่าราชวงศ์จักรีนั้นป็นผู้สืบสายเลือด และจิตวิญญาณจากกษัตริย์กรุงสุโขทัยที่ดีและสูงส่ง เป็นพระราชาผู้ทรงธรรม มิใช่กษัตริย์มือเปื้อนเลือดแบบกษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่เรียกกันว่า เป็นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง อย่างที่พยายามโหมโฆษณากัน มีพระเจ้าแผ่นดินในอุดมคติ ที่เป็นเสมือนพ่อของประชาชนทั้งประเทศ แบบเดียวกับสมัยพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งต่างจากกษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยาที่ใช้การปกครองแบบขอม ที่กษัตริย์เป็นชนชั้นสูงที่ห่างไกลจากประชาชน

แต่ในความเป็นจริงแล้ว กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีก็ไม่ได้แตกต่างจากกษัตริย์สมัยอยุธยา แม้แต่รัชกาลที่ 9 ก็ยังรักษาสถานะกษัตริย์แบบฮินดูไว้ในหลายๆด้าน เนื่องจากความสมมุติเทพยังเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่ออำนาจของกษัตริย์ คือ กษัตริย์ก็ยังคงเป็นเทพเจ้าผู้สูงส่ง ไม่ใช่พ่อของประชาชนแบบที่โฆษณาชวนเชื่อกันแต่อย่างใด และประชาชนก็เป็นได้แค่ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเท่านั้น


ประเพณีของทั้งพุทธและฮินดู ที่ผสมปนเปเข้ากันอย่างลงตัว เป็นรากฐานแห่งอำนาจให้กับสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ยั้งยืนยง พรั่งพร้อมไปด้วยอำนาจบารมี ใช้ทั้งหลักพุทธและฮินดู ในเรื่องของโชคชะตา พิธีกรรม และหลักทศพิธราชธรรม


เรื่องราวในวังสมัยอยุธยา เป็นเรื่องที่โกลาหลวุ่นวาย และ
เต็มไปด้วยการนองเลือด ช่วงชิงราชบัลลังก์ การลอบปลงพระชนม์ เป็นสิ่งที่เขย่าขวัญและเกิดขึ้นบ่อย จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา ระหว่างกษัตริย์กับเจ้าฟ้าและราชินี มีหลายครั้งที่มีการกบฏจากคนนอกราชวงศ์




เพื่อให้ได้เป็นกษัตริย์อย่างถูกต้อง และน่าเชื่อถือ จึงมีการใช้การสมรสเพื่อเป็นมเหสี พระสนม และเอาน้องสาว ลูกสาว ของกษัตริย์องค์ก่อนมาเป็นมเหสี เป็นพระสนม ความชัดเจนของการสืบสันตติวงศ์จึงไม่แน่ชัด มีหลายราชวงศ์

ท้ายที่สุด อาณาจักรอยุธยาก็อ่อนแอลง เพราะการแก่งแย่งอำนาจ และความมั่งคั่ง หลังจากถูกปิดล้อมหนึ่งปี ในเดือนเมษายน พ.ศ.2310 กองกำลังทหารพม่าก็ตีผ่านกำแพงเมืองอยุธยา เข้าทำลายปราสาท และตัวเมือง ทำลายราชวัง เจดีย์ วัดวาอาราม และชาวเมืองอยุธยาต่างพากันหนีกระจัดกระจายไปสู่ชนบท อาณาจักรอยุธยาได้ถึงวาระสิ้นสุดลง




พระเจ้าตากสิน
ซึ่งเป็นเจ้าเมืองตากเชื้อสายจีน ได้รวบรวมผู้คนขับไล่พม่าออกไป แล้วตั้งเมืองใหม่ที่กรุงธนบุรี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปีพ.ศ.2311 โดยมีฐานสนับสนุน เป็นกลุ่มพ่อค้าคนจีน และกลุ่มขุนนางที่เหลือรอดตายจากอยุธยา


แต่หลังจากที่พระเจ้าตากสินได้ฟื้นฟูอาณาจักร ได้เป็นปึกแผ่นพอสมควรแล้ว ชนชั้นนำเก่าของอยุธยาได้หันมาต่อต้านพระเจ้าตากสิน นำโดยตระกูลบุนนาค ซึ่งเป็นขุนนางและพ่อค้าเชื้อสายเปอร์เซีย (เจ้าพระยาบวรราชนายก เฉกอะหมัด) ที่มีอิทธิพลมากซึ่งเป็นคู่แข่งผลประโยชน์ทางการค้ากับพวกคนจีน ที่เป็นพรรคพวกของพระเจ้าตากสิน โดยโจมตีกล่าวหาว่าพระเจ้าตากสินมีสติฟั่นเฟือน หลงอำนาจ แตกแยกกับข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด

พวกขุนนางเก่าอยุธยาได้สนับสนุนแม่ทัพสองคน คือพระยาจักรี (ทองด้วง / รัชกาลที่ 1 ) และพระยาสุรสีห์ (บุญมา / น้องชายนายทองด้วง) ทำการโค่นล้มปลงพระชนม์แย่งชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าตากสินและตั้งตนเป็นกษัตริย์

เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325 สถาปนาราชวงศ์จักรี โดยย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลบางกอก และได้พยายามหาข้อแก้ตัวในการล้มล้างราชบัลลังก์พระเจ้าตากสิน โดยอ้างว่าพระเจ้าตากสินเป็นทรราชที่เสียสติ ไม่มีทศพิธราชธรรม อวดอุตริมนุสธรรม ข่มเหงพระสงฆ์ที่ไม่ยอมเลื่อมใส



รัชกาลที่ 1
ได้รื้อฟื้นราชสำนักและระบบราชการ ตามแบบอยุธยา และระบอบศักดินา ทำการกวาดล้างพระสงฆ์ที่อยู่ฝ่ายพระเจ้าตากสินโดยอ้างว่าเป็นการยกเครื่อง หรือสังคายนาวงการสงฆ์ที่กำลังเสื่อมถอย เพื่อให้หันมาจงรักภักดีต่อกษัตริย์องค์ใหม่แห่งราชวงศ์จักรี





รัชกาลที่ 1 ต้องรักษาดุลย์อำนาจ และต้องระมัดระวังลูกหลานของพระเจ้าตากสิน รวมทั้งน้องชายของตนเอง (พระยาสุรสีห์ หรือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท / วังหน้า) ซึ่งต้องการเป็นกษัตริย์เหมือนกัน พระองค์จึงต้องจัดสรรแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่หลายๆฝ่าย รวมทั้งการเอาลูกสาวจากตระกูลคู่แข่ง อย่างบุนนาค และลูกหลานพระเจ้าตากมาเป็นพระสนม ทำให้รัชกาลที่ 1 มีโอรสถึง 42 องค์




แต่พอวังหน้า (
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท บุญมา) ซึ่งเป็นน้องชายสวรรคต พวกวังหน้าตั้งกองฝึกอาวุธเตรียมกบฏ มีพระองค์เจ้าลำดวนและอินทปัตโอรสของวังหน้าเป็นหัวหน้า แต่รัชกาลที่ 1 ทรงทราบจึงสั่งจับประหารชีวิตทั้งหมดทั้งๆที่เป็นหลานของตนเอง


รัชกาลที่ 1 สวรรคตในปี 2352 พระชนม์ 72 ชันษา ราชสมบัติได้สืบทอดมายังเจ้าฟ้าฉิม (กรมขุนอิสระสุนทร) หลังจากขึ้นครองราชย์ได้สามวันก็หาเรื่องกำจัดลูกหลานของพระเจ้าตากสิน คือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรกรมขุนกษัตรานุชิต หรือเจ้าฟ้าเหม็น รวมทั้งเจ้าจอมมารดาสำลี และพระองค์เจ้าชายอรนิภา (นายหนูดำ) รวมข้าราชการอีก 40 นาย




โดยอ้างว่ามีอีกาคาบรายชื่อผู้คิดก่อการกบฎ โดยให้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ (เจ้าชายทับ / เจษฎาบดินทร์) เป็นคนชำระความ ทำการประหารชีวิตทั้งหมดเพื่อขุดรากถอนโคนเชื้อสายพระเจ้าตากสิน







รัชกาลที่ 2
ครองราชย์ปี 2352-2367 รวม 15 ปี เพื่อความปลอดภัยของบัลลังก์ ทรงมอบตำแหน่งสูงๆให้แก่ญาติๆและได้จัดสรรให้ลูกๆทุกคน รวมทั้งหมด 73 คน




รัชกาลที่ 2 ทรงประชวรอยู่นาน
เจ้าจอมมารดาเรียม หรือสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนี แม่ของเจษฏาบดินทร์ โอรสที่เกิดนอกเศวตฉัตร ได้ถวายยาทำให้รัชกาลที่ 2 มีอาการทรุดลง







กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ให้ทหารล้อมวัง ปล่อยให้รัชกาลที่ 2 พระราชบิดาสวรรคต เพื่อยึดราชสมบัติเป็นของตน





เจ้าฟ้ามงกุฏพระราชโอรส ที่เกิดจากพระมเหสีสุริเยนทรามาศซึ่งมีอายุได้ 20 ปีเห็นท่าไม่ค่อยดี ต้องออกบวชไม่กี่เดือนก่อนรัชกาลที่2 สวรรคต และเจ้าฟ้ามงกุฏก็จำใจต้องบวชต่อไป เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของตน





เจ้าฟ้ามงกุฏ หรือพระวชิรญาณเถระได้สร้างเครือข่ายและฐานกำลัง ทั้งจากพวกเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง พระ พ่อค้าและพวกมิชชันนารี (พวกนักบวชนักสอนศาสนาคริสต์)



และยังได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่พระในสังฆมณฑล ตั้งนิกายของตนเอง เรียกว่าธรรมยุติแปลว่ายึดมั่นในธรรม โดยอ้างว่าเป็นนิกายที่มีความเคร่งครัดกว่า เป็นพุทธที่บริสุทธิ์กว่าและแท้จริงกว่า ยึดถือพิธีกรรมน้อยกว่า และได้ดูถูกเย้ยหยันนิกายเดิมหรือมหานิกาย ที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือกันอยู่ว่าเป็นนิกายที่โบราณคร่ำครึ ล้าสมัยงมงายไม่ใช้สติปัญญา ทรงประกาศตนเป็นผู้นำพระสงฆ์ที่เหนือกว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 3

เมื่อรัชกาลที่ 3 ใกล้สวรรคต ดิศ บุนนาค (เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหกลาโหมสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ) หัวหน้าพวกบุนนาคเชิญภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นเป็นกษัตริย์ ทั้งๆที่รัชกาลที่ 3 ยังไม่ทันสวรรคต โดยดิศ บุนนาคได้เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการ ทั่วทั้งพระราชอาณาจักร เป็นสมเด็จเจ้าพระยาพระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นพ่อของสมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีตระกูลบุนนาคคอยควบคุมดูแลการทหารและการเงินการคลังของประเทศ

รัชกาลที่ 4 ถูกยกให้เป็นกษัตริย์ที่ทรงภูมิธรรม เป็นปราชญ์ทางศาสนา ที่ทำให้พุทธศาสนาบริสุทธิ์ตามแบบธรรมยุติ และทรงมีความคิดที่ก้าวหน้าทันสมัย เป็นผู้ชักนำสังคมไทยให้รู้จักวิทยาศาสตร์และการศึกษาแบบตะวันตก




แต่เอกสารของชาวตะวันตก บันทึกว่า
รัชกาลที่4 เป็นแค่พวกหัวโบราณที่กลับไปกลับมา ไม่มีวินัย เป็นพวกมักมากและหมกมุ่นในกามคุณ เป็นคนโทสะร้ายและใจคออำมหิต ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับยุคสมัย


รัชกาลที่ 4 ได้พยายามสร้างความเชื่อ ว่ากษัตริย์ราชวงศ์จักรีสืบเชื้อสายมาจากพระราชาผู้ทรงคุณธรรมสมัยสุโขทัย โดยบังเอิญค้นพบหลักศิลาจารึก ซึ่งมีพิรุธว่าราชวงศ์จักรีให้คนทำขึ้นมาเอง รัชกาลที่ 4 เลียนแบบพ่อขุนรามคำแหง ในเรื่องการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนโดยรับรับเรื่องร้องทุกข์สัปดาห์ละครั้ง


เพื่อลบล้างการดูถูกของพวกยุโรป ที่มองว่าประเพณีแบบฮินดูและการนับถือผีของสยาม เป็นเรื่องงมงายล้าหลัง จึงได้พยายามปรับเปลี่ยนพระราชกรณียกิจ และพิธีกรรมต่างๆให้มีความเป็นพุทธมากขึ้น โดย
ปกปิดบังอำพรางพิธีกรรมของพวกพราหมณ์ฮินดู ที่นับถือเทพเจ้าและลัทธินับถือผีของสยาม


แต่ยังรักษาความศักดิ์สิทธิ์อลังการ ของสถาบันกษัตริย์แบบเดิมเอาไว้ โดยการจัดพิธีราชาภิเษกที่ยิ่งใหญ่มโหฬาร ใช้พิธีกรรมทั้งพราหมณ์และพุทธเพื่อส่งเสริมพระองค์ ให้เป็นดุจดั่งสมมุติเทวราชและมหาธรรมราชา ให้สร้างศาลหลักเมืองเพื่อผูกชะตาดวงเมืองและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง





สร้าง
พระสยามเทวาธิราช ให้เป็นเทวดาทำหน้าที่ปกปักรักษาพระราชอาณาจักร








สร้างประเพณีแต่งตั้งและมอบพัดยศ แก่พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ ด้วยพระองค์เอง อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน



กำหนดให้วันพระราชสมภพ และวันขึ้นครองราชย์เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ที่มีการเฉลิมฉลองตามอย่างยุโรป เป็นการยกสถาบันกษัตริย์ให้ศักดิ์สิทธิ์เทียบเท่าเทพเจ้าและพระพุทธเจ้า ซึ่งแม้แต่คนในราชวงศ์ก็ยังรู้สึกว่าชักจะมากเกินไปแล้ว






พวกฝรั่งไม่ค่อยพอใจรัชกาลที่ 4 ที่ไม่ใส่ใจเรื่องการเปิดประตูการค้า ใช้หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษในกรุงเทพและสิงคโปร์ โจมตีรัชกาลที่ 4 ว่ายกตนเองเป็นเทพเจ้า และมีพฤติกรรมการหมกมุ่นในกามารมณ์ มีพระสนมมากมายทำให้วังกลายเป็นฮาเร็มที่เต็มไปด้วยนางบำเรอของกษัตริย์ ทั้งโจมตีเรื่องการผูกขาด และการทุจริตในหมู่เชื้อพระวงศ์ เพื่อหาเรื่องจะยึดเอาเป็นเมืองขึ้น




แต่อำนาจและมันสมองที่แท้จริง คือเสนาบดี
ช่วง บุนนาค (เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ) ชาวต่างชาติถือว่าเป็นกษัตริย์ตัวจริง ที่เจรจาต่อรองประประนีประนอมจนทำให้สยามรอดจากการเป็นอาณานิคม





รัชกาลที่ 4 ได้สร้างสถิติมีลูกมากที่สุดถึง 82 คน จากแม่ 35 คน ทั้งๆที่เป็นกษัตริย์ตอนแก่ และต้องบวชรอราชสมบัติอยู่ถึง 27ปี เป็นกษัตริย์แก่ที่มีเมียเด็ก ตอนพระชนม์ 60 ปี มีเมียอายุแค่ 15 ปี มีเมียมากจนจำเมียไม่ได้ หมกมุ่นแต่กามคุณ


พระมเหสี คือพระเทพศิรินทราบรมราชินี ซึ่งเป็นหลานปู่ของรัชกาลที่ 3 เป็นผู้ให้กำเนิดรัชทายาทคือเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ซี่งเป็นปู่ของรัชกาลที่ 9






รัชกาลที่ 4 มีพระสนมคนโปรด ชื่อ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม ซึ่งมีลูกสาวสามคน และทั้งสามคนนี้ก็ได้เป็นมเหสีของรัชกาลที่ 5 และหนึ่งในนั้น คือพระนางเจ้าสว่างวัฒนาซึ่งเป็นย่าของรัชกาลที่ 9



เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ซึ่งรอดตายจากไข้มาเลเลียจากการร่วมเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอยังไม่ได้สืบราชสมบัติเต็มที่เพราะมีอายุแค่ 15 ปี อำนาจส่วนใหญ่จึงอยู่กับสมเด็จเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค) ตระกูลบุนนาคมีอำนาจและอิทธิพลสูงมาก ขนาดในปี 2414 รัชกาลที่ 5 ต้องขอยืมเงิน 8 ล้านบาทจากเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในราชสำนักและรัฐบาล


พอเวลาผ่านไป
พรรคพวกตระกูลบุนนาคก็ทยอยเสียชีวิตไป โดยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์อสัญกรรมในปี 2426 ในขณะที่รัชกาลที่ 5 ก็ค่อยๆ แต่งตั้งเชื้อพระวงศ์ที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตก ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือลูกๆ ของรัชกาลที่ 4 ที่มีถึง 82 คน





เป็นการแทนที่อำนาจของตระกูลบุนนาค ด้วยความสดใหม่ และการศึกษาที่ดีจากทางตะวันตก ซึ่งรัชกาลที่ 5 ก็แต่งตั้งบรรดาน้องๆ ของพระองค์เป็นสภาองคมนตรีและสภารัฐมนตรี ตามแบบอังกฤษ

ทรงมีที่ปรึกษาชาวตะวันตก จัดรูปแบบการบริหารประเทศแบบสมัยใหม่ มีผู้บริหารงานที่มีความชำนาญจากหลายสถานการศึกษามาทำงานบริการประชาชนที่เรียกว่า ข้าราชการ



มีการก่อตั้งโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน (2442 ต่อมาเป็นคณะรัฐศาสตร์จุฬา)โรงเรียนทหารบกและทหารเรือ มีการจัดสรรงบประมาณส่วนกลาง สำหรับกระทรวงและกรมต่างๆ และแยกทรัพย์สินส่วนพระองค์ออกมา รัฐมีรายได้มากขึ้นเพราะมีการเปิดตลาดการค้ามากขึ้น การรั่วไหลโดยพวกขุนนางทำได้ยากขึ้น และอิทธิพลของพวกบุนนาคก็ลดน้อยลงไปมาก

รัชกาลที่ 5 ได้จัดสรรสัมปทานและที่ดินให้แก่สมาชิกในราชวงศ์จักรี โดยยกที่ดินจำนวนมหาศาลให้แก่ญาติพี่น้อง เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ โดยอาศัยการเก็บค่าเช่าที่ดินในเมืองและค่าเช่านา เพื่อเป็นรายได้หลักของพวกเชื้อพระวงศ์

ทรงสร้างภาพของการใกล้ชิดราษฎร ด้วยการปรากฏพระองค์ตามที่สาธารณะมากขึ้น ทรงยกเลิกกฎที่ไพร่จะต้องหมอบกราบเวลาเข้าเฝ้า การปรับปรุงการบริหารประเทศของรัชกาลที่ 5 เพื่อการรวมศูนย์อำนาจมาอยู่ที่สถาบันกษัตริย์ หรือสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพราะนายทหารและข้าราชการระดับสูง ล้วนเป็นพระญาติพระวงศ์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงแต่งตั้งเองทั้งสิ้น

ทรงยกฐานะนิกายธรรมยุติ ให้สูงกว่ามหานิกายซึ่งใหญ่กว่ามาก โดยแต่งตั้งกรมวชิรญาณวโรรส เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศน์ (พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ) โอรสรัชกาลที่ 4 เหมือนกัน ให้เป็นหัวหน้าของฝ่ายธรรมยุติ และในปี 2442 ก็ทรงแต่งตั้งให้เป็นสังฆราช (สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญานวโรรส) ทำหน้าที่ปกครองสงฆ์ทั้งสองนิกาย

ต่อมามีการออกพระราชบัญญัติปฏิรูปสงฆ์ 2445 (รศ.121) ให้รัฐบาลรับผิดชอบกิจการสงฆ์ มีสมเด็จพระราชาคณะ และมีรองสมเด็จรวมเป็น 8 รูป ยกขึ้นเป็นมหาเถรสมาคม ทำหน้าที่ปกครองสงฆ์ และแต่งตั้งตำแหน่งชั้นยศของสงฆ์ ทำให้กษัตริย์กลายเป็นประมุขของสงฆ์ และมีการจัดลำดับชั้นของวัด โดยวัดหลวงอยู่ชั้นสูงสุด ให้กษัตริย์เป็นผู้ดูแลการแต่งตั้งทางศาสนาในกรุงเทพและวัดหลวงโดยตรง ให้วงการสงฆ์เป็นเครื่องมือเชิดชู และแผ่อำนาจของราชวงศ์จักรี



กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระราชโอรสรัชกาลที่ 4 รับหน้าที่เป็นหัวหน้างานด้านวัฒนธรรมคนสำคัญ โดยอ้างหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ว่าราชวงศ์จักรีนั้นสืบทอดมาจากพ่อขุนรามคำแหง ธรรมราชาแห่งกรุงสุโขทัย




รัชกาลที่ 5 ได้กุมอำนาจสูงสุดอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ได้เสด็จประพาสยุโรปสองครั้งในปี 2440 และ 2450 ทรงยอมรับก่อนการสวรรคตในปี 2453 ว่าเมื่อลูกหลานของข้าราชการมีความรู้มากขึ้น สถาบันกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ก็จะถูกลดอำนาจลง

แต่พระองค์ได้เตรียมการสืบทอดรัชทายาทและการสืบทอดอำนาจไว้อย่างเต็มที่ ด้วยการมีลูกถึง 77 คน กับนางสนม 36 คน จากนางสนมทั้งหมด 92 คน โดยมีลูกกับพระมเหสีที่เป็นทางการ 18 คน ซึ่งรวมถึงเจ้าฟ้ามหิดลพระราชบิดาของรัชกาลที่ 9

โดยพระมเหสีทั้ง 3 ล้วนเป็นน้องสาวต่างแม่ คือ เป็นลูกของรัชกาลที่ 4 เหมือนกัน ซึ่งเป็นการประกันความบริสุทธิ์ของสายเลือดราชวงศ์จักรี คือ พี่น้องที่มีพ่อคนเดียวกันมาแต่งงานกันเองโดยไม่มีสายเลือดของสามัญชนมาเกี่ยวข้อง




เจ้าฟ้าวชิราวุธ
เป็นกษัตริย์สยามองค์แรกที่ผ่านการศึกษาจากตะวันตก จบจากออกฟอร์ดอังกฤษแล้วเข้าเรียนวิชาการทหารที่แซนเฮิร์ส ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 6 เมื่อปี 2453




ทรงประทับใจในความเจริญทางอุตสาหกรรม และลัทธิชาตินิยมอันแรงกล้าของ ญี่ปุ่น อังกฤษ และเยอรมัน
จึงได้พยายามปลูกฝังเรื่องความรักชาติ มีวินัย แต่ที่จริงก็คือ มุ่งเน้นให้ประชาชนจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เท่านั้นเอง


ทรงสร้างอุดมการณ์แห่งชาติขึ้นมาใหม่ คือ ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ให้เป็นสถาบันหลักที่คนไทยทุกคนต้องรักษาและรับใช้ โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงกำหนดวันหยุดนักขัตฤกษ์ขึ้นอีกสองวัน คือ วันจักรีและวันมหาจุฬาลงกรณ์ (วันปิยะมหาราช)

ทรงก่อตั้งกองกำลังพลเรือนกึ่งทหาร ที่เรียกว่ากองเสือป่า โดยขึ้นตรงต่อราชสำนัก เพื่อปลูกฝังความจงรักภักดี ทรงปรับปรุงกองทัพบกและกองทัพเรือให้ทันสมัยด้วยยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ

ทรงก่อตั้งธนาคารสยามกัมมาจล (ไทยพาณิชย์) เป็นธนาคารแห่งแรกของไทย



และบริษัทปูนซิเมนต์ไทย
โดยมีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่





แต่พระราชวงศ์ใหญ่โตมาก เพราะรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทรงมีลูกหลานมาก รวมๆกันแล้วประมาณ 500 พระองค์ อยู่ใน 28 ราชสกุลที่สืบเชื้อสายจากพระราชโอรสของรัชกาลที่ 4


นอกจากรัชกาลที่ 5 ที่มีลูกถึง 77 คนแล้วเจ้าฟ้าอีกคนหนึ่งในรุ่นเดียวกันก็มีลูกถึง 73 คน และหลายคนมีลูกคนละ 40-50 คน (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ต้นสกุลดิศกุลซึ่งเป็นโอรสองค์ที่ 57 ของรัชกาลที่ 4 มีโอรสและธิดารวม 37 องค์)


บรรดาลูกท่านหลานเธอเหล่านี้ เป็นภาระหนักอึ้งของท้องพระคลัง หรืองบประมาณแผ่นดิน สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ลดภาระ โดยการไม่ให้ลูกสาวจำนวนมากของพระองค์แต่งงาน อย่างน้อยก็อย่างเป็นทางการ

แต่ในสมัยรัชกาลที่ 6 พวกเชื้อพระวงศ์จำนวนมาก กลับใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนน่าตกใจ พากันออกท่องเที่ยวทั่วโลก และโยกย้ายเงินทองออกนอกประเทศ เพื่อเตรียมตัวหนีเผื่อมีการปฏิวัติล้มล้างสถาบันกษัตริย์ แบบที่เกิดขึ้นในจีนและรัสเซีย รัชกาลที่ 6 ใช้การจำกัดชั้นเชื้อพระวงศ์ และให้ใช้นามสกุลแบบตะวันตก เพื่อให้ชัดเจนว่าใครเป็นใคร และประกาศนโยบายแห่งชาติให้มีผัวเดียวเมียเดียว แต่สมาชิกของราชวงศ์ก็ยังมีมากมายอยู่ดี



รัชกาลที่ 6 ทรงชอบเก็บตัวไม่ค่อยได้ใกล้ชิดกับเชื้อพระวงศ์ที่ช่วยค้ำราชบัลลังก์ และชอบคลุกคลีกับพวกหนุ่มๆที่เป็นสามัญชน โดยมักหลีกเลี่ยงการว่าราชการงานเมือง ไปเพลิดเพลินอยู่กับวรรณคดีการละคร และขบวนแห่แหนทางทหาร





ในต้นปี 2355 มีนายทหารหนุ่มหลายสิบคนวางแผนยึดอำนาจเปลี่ยนการปกครอง เรียกว่า
กบฏ ร.ศ. 130






แต่ทำไม่สำเร็จเพราะแผนการรั่วไหลไปถึง
พระอนุชาธิราช จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสียก่อน






ปี 2463 เกิดความล้มเหลว ที่สะสมมาจากการบริหารราชการแผ่นดิน และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ขาดดุลงบประมาณอย่างหนัก งบประมาณไม่พอใช้ เพราะกษัตริย์ใช้จ่ายงบทางทหารมาก ข้าราชการทุจริตและสิ้นเปลืองเงินไปกับกิจกรรมของกองเสือป่า ประชาชนเสื่อมศรัทธาพวกราชวงศ์และสถาบันกษัตริย์



แต่รัชกาลที่ 6 ยืนยันเป็นคำขาด ว่าเป็นพระราชอำนาจของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว ที่จะตัดสินพระทัยในนโยบายใดๆของรัฐก็ตาม โดยไม่มีใครกล้าโต้แย้ง เมื่อรัชกาลที่ 6 สวรรคต เจ้าฟ้าประชาธิปกจึงได้สืบราชบัลลังก์เพราะเป็นพระอนุชาร่วมพระมารดา




เจ้าฟ้าประชาธิปก
เป็นพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าองค์สุดท้องของรัชกาลที่ 5 กับพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พอหลังจากพระเชษฐาทั้งสามพระองค์สิ้นพระชนม์เจ้าฟ้าประชาธิปก ก็ได้ครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 7 ทรงตัดงบค่าใช้จ่ายของราชสำนัก ปลดข้าราชการออกจำนวนมาก และลดเงินใช้จ่ายของกษัตริย์ลงไปครึ่งหนึ่ง



ทำให้สถานะของรัฐบาลก็พลิกฟื้นขึ้นมา ภายในปีเดียว รัชกาลที่ 7 ก็ได้เข้าร่วมการบรรยายทางวิชาการ และการประชุมของสมาคมพลเรือนต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงชนชั้นนายทุนในเมืองที่กำลังเติบโต

มีการพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้จบการศึกษามหาวิทยาลัย ด้วยหวังว่าจะผูกพันบัณฑิตเหล่านั้นกับสถาบันกษัตริย์ และทรงเป็นประธานในพิธีเปิดเรียนของนักเรียนทหาร


พระราชทานกระบี่
แก่นักเรียนนายร้อย ผู้จบการศึกษาเพื่อรับการถวายสัตย์ปฏิญาณตนต่อหน้าพระพักต์ เป็นการปลูกฝังความจงรักภักดีของของสถาบันทหาร ซึ่งมีจำนวนประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของข้าราชการพลเรือน เป็นฐานอำนาจที่สำคัญของกษัตริย์ โดยที่พระองค์ไม่เข้าไปแตะต้องงบประมาณทางทหาร ซึ่งก็ทำให้ทหารพอใจ

รัชกาลที่ 7 ได้ฟื้นพิธีกรรมหลายอย่าง ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของบารมีอันปฏิบัติมาแต่เดิม ที่รัชกาลที่ 6 ได้มองข้ามไป เพื่อฟื้นฟูอำนาจและบารมีให้เหมือนรัชกาลที่ 5



เช่น พิธีโกนจุก/โสกัณฑ์ พิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ พระราชพิธีกฐินหลวง ที่วัดอรุณที่มีพิธีขบวนเห่เรืออันใหญ่โต รัชกาลที่ 7 ไม่ทรงสร้างวัดใหม่ที่อลังการตามอย่างรัชกาลก่อนๆ แต่ทรงประหยัดงบประมาณด้วยการบูรณะวัดเก่าแทน และได้มีการฟื้นฟูการส่งเสริมพระบารมีทุกๆด้าน รัฐบาลของกษัตริย์พยายามส่งเสริมพระบุญญาบารมีของกษัตริย์สูงส่งขึ้นอีกครั้ง โดยอาศัยการบีบบังคับสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ที่นิยมเจ้าก็พากันสรรเสริญกษัตริย์ ฉบับที่วิพากษ์วิจารณ์เจ้าก็จะถูกข่มขู่ ส่วนที่นิยมระบอบสาธารณรัฐ/ระบอบประธานาธิบดีก็จะถูกปิด

รัชกาลที่ 7 ทรงรู้ดีว่าชาวกรุงเทพฯ จำนวนมากไม่พอใจอภิสิทธิ์ และการผูกขาดตำแหน่งสูงๆ ของพวกเชื้อพระวงศ์ อำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชกลายเป็นอันตรายต่อประเทศ



ตั้งแต่โบราณ กษัตริย์จะทำอะไร ก็แทบไม่เคยได้รับการตั้งคำถาม... กษัตริย์ได้รับการเคารพอย่างแท้จริง และพูดอะไรก็เป็นกฎหมาย...
ในรัชสมัยที่เพิ่งผ่านพ้นไปนั้น สิ่งต่างๆย่ำแย่ลงมาก... ข้าราชการทุกคนน่าสงสัยว่าจะยักยอกเงินหลวง หรือไม่ก็เล่นพวกพ้องกัน โชคดีว่าบรรดาเชื้อพระวงศ์ยังเป็นที่เคารพ ว่าเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต









แต่ราชสำนักเป็นที่เกลียดชังมาก แทบจะถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม การมีสื่อเสรียิ่งซ้ำเติมขึ้นไปอีก กษัตริย์อยู่ในฐานะลำบากมาก สถานะของกษัตริย์จำต้องได้รับการค้ำจุนให้มั่นคงมากกว่านี้ ต้องหาหลักประกันเพื่อจะไม่ให้มีกษัตริย์ที่ไม่ฉลาด




แต่รัชกาลที่ 7 ก็ยังคงคัดค้านการปฏิรูป ทรงยืนยันว่าระบอบรัฐสภาแบบยุโรปนั้นไม่เหมาะกับคนเอเชีย และชาวสยามยังไม่พร้อมสำหรับรัฐบาลที่มาจากตัวแทนประชาชน



ทรงตรัสต่อฟรานซิส บีแซร์ ( Dr.Francis Bowes Sayre หรือพระกัลยาณไมตรี )ที่ปรึกษาชาวอเมริกันว่าการมีอภิรัฐมนตรีสภานั้น ดีที่สุดแล้ว เพราะเชื้อพระวงศ์ที่มีจิตใจสูงส่งเหล่านั้น มีโอกาสน้อยที่จะทุจริต และใช้อำนาจในทางที่ไม่ชอบ



ทรงเสนอให้มีการแต่งตั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพี่อดูแลงานของเสนาบดี แต่สภาสูงสุดคัดค้านอย่างหนัก โดย กรมพระยาดำรงราชานุภาพโต้แย้ง ว่ามันเสี่ยงต่อการที่ราษฎรจะเข้าใจว่ากษัตริย์ไม่ได้ปกครองประเทศนี้อีกต่อไปแล้ว






รัชกาลที่ 7 ทรงแต่งตั้งองค์กรฝึกหัดทางนิติบัญญัติขึ้นมา เรียกว่า
สภากรรมการองคมนตรี องค์กรนี้ไม่มีอำนาจ แต่มีหน้าที่อภิปรายถกเถียงเรื่องนโยบายสาธารณะ ได้รับการแต่งตั้งโดยกษัตริย์ ส่วนใหญ่เป็นราชนิกูล แต่พวกเชื้อพระวงศ์รุ่นใหญ่ก็ยังคัดค้านอีก



พระองค์เจ้าธานีนิวัต (กรมหมื่นพิยาลาภพฤฒิยากร) เสนาบดีที่ดูแลด้านการศึกษา แจ้งว่าไม่ใช่สิ่งจำเป็น เนื่องจากประชาธิปไตยนั้นไม่สามารถใช้ได้กับทั้งโลก คนอื่นๆ บอกว่าสภาองคมนตรีจะทำให้สถาบันกษัตริย์ระคายเคืองเพราะต้องมีการเสนอต่อกษัตริย์ แทนที่จะแค่คอยรับคำสั่งจากกษัตริย์





ในที่สุดรัชกาลที่ 7 ก็ทรงยกเลิกหลังการทดสอบคณะนิติบัญญัติเทียม ที่ไม่สามารถตัดสินใจได้แม้ในเรื่องแบบลวดลายของธงชาติ รัชกาลที่ 7 ยังคงยึดมั่นอยู่กับความเป็นลำดับชั้นทางสายเลือด โดยทรงแต่งตั้งที่ปรึกษาจากคนในพระราชวงศ์เท่านั้น



ในปลายปี 2470 ได้ทรงเพิ่มกำลังของราชวงศ์ โดยการเลื่อนชั้นของเชื้อพระวงศ์ชั้นกลางรุ่นเยาวชนกลุ่มหนึ่ง ให้ขึ้นมาอยู่ในชั้นที่รองลงมาจากชั้นเจ้าฟ้า มีพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ลูกของเจ้าฟ้ามหิดลรวมอยู่ด้วย และรวมถึงพระองค์เจ้าภูมิพลที่เกิดมาในอีกไม่นาน เจ้าฟ้ามหิดลที่ตอนนั้นเป็นรัชทายาทลำดับที่หนึ่ง เนื่องจากรัชกาลที่ 7 ยังไม่มีลูก ได้ถูกเรียกตัวกลับประเทศจากบอสตัน สหรัฐอเมริกา


ปลายปี 2473 เกิดวิกฤติทางการเงินของสหรัฐฯ ส่งผลไปทั่วโลกรวมทั้งสยาม
รายได้หลักของรัฐคือภาษีจากสินค้าส่งออกและนำเข้าลดฮวบ รัชกาลที่ 7 และอภิรัฐมนตรีสภาต้องเร่งแก้ไขกันอย่างเต็มที่ เป็นเวลากว่า 18 เดือน ทรงเสนอให้จัดเก็บภาษีรายได้ทั่วไปและภาษีทรัพย์สิน




แต่พวกเชื้อพระวงศ์ปฏิเสธอย่างเด็ดขาด เพราะพวกเขาจะเสียหายมากที่สุด และพวกเขาได้แสดงอำนาจที่เหนือกว่ากษัตริย์ ด้วยการบังคับให้มีการลดเงินเดือนและจำนวนข้าราชการลง ลดงบประมาณทางทหารด้วย เกิดความโกรธเคืองแก่ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ เกิดมีกระแสการก่อกบฏ

ปลายปี2474 ทรงยอมรับในงานเลี้ยงอาหารค่ำกับเหล่าเชื้อพระวงศ์ ว่าทรงหมดปัญญาจัดการกับเศรษฐกิจใหม่ที่ซับซ้อน พระองค์เป็นเพียงทหาร จะไปเข้าใจเรื่องอย่างมาตรฐานทองคำได้อย่างไร ไม่เป็นธรรมเลยที่ราษฎรจะมายึดถือพระองค์ให้เป็นผู้รับผิดชอบแม้กระทั่งเรื่องดินฟ้าอากาศที่ไม่ดี

ทรงกล่าวต่อหน้ากลุ่มนายทหาร ว่า "สงครามทางการเงินนั้นเป็นเรื่องที่สาหัสจริงๆ.....พระองค์ไม่เคยประสบเรื่องยากลำบากขนาดนี้มาก่อนเลย ดังนั้นถ้าพระองค์ได้ทำอะไรผิดพลาดไป พระองค์ก็สมควรจะได้รับการยกโทษ จากเจ้าหน้าที่และราษฎรสยาม ” นับเป็นการสารภาพที่น่าตกใจที่รัชกาลที่ 7 ไม่มีความรับผิดชอบและไม่มีพระปรีชาสามารถดังที่อุตส่าห์โฆษณากันขึ้นมาผ่านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ธรรมราชาที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ต้องยอมรับสารภาพว่ากษัตริย์ไม่ได้เป็นผู้วิเศษอย่างที่ได้โฆษณาโอ้อวดกัน


ตุลาคม 2474 รัชกาลที่ 7 ทรงให้มีคณะกรรมการจัดทำร่างรัฐบาลแบบประชาธิปไตยและระบอบกษัตริย์ที่มีรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยเสนาบดีการต่างประเทศ พระองค์เจ้าเทววงศ์วโรปการ

พร้อมพระยาศรีวิสารวาจาและที่ปรึกษาชาวอเมริกัน นายเรย์มอนด์ สตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) ซึ่งพวกเขาเข้าใจว่าเป็นแค่การหันเหความสนใจ




โดยออกแบบรัฐบาล ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เลือกรัฐมนตรีเอง และรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติที่ครึ่งหนึ่งแต่งตั้งโดยกษัตริย์ และอีกครึ่งหนึ่งเลือกตั้งทางอ้อม กษัตริย์ถือสิทธิในการเลือกนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจยับยั้งกฎหมายและนโยบาย สภาสูงสุดของเชื้อพระวงศ์ให้คำปรึกษาแก่กษัตริย์แต่จะไม่ได้ดูแลคณะรัฐมนตรี รัชกาลที่ 7 มองว่านี่เป็นหนทางที่มั่นใจได้ว่าคณะรัฐมนตรีจะทำงานอย่างเข้ากับนายกรัฐมนตรี เพราะเลือกกันมาเอง และเป็นการคืนอำนาจแก่กษัตริย์จากเหล่าเชื้อพระวงศ์ดัวย

ต้นเดือนมีนาคม 2475 รัชกาลที่ 7 ทรงมอบร่างรัฐธรรมนูญให้แก่บรรดาเชื้อพระวงศ์ที่พากันตื่นตระหนก พระองค์ต้องการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ 6 เมษายน อันเป็นวันครบรอบ 150 ปีของราชวงศ์ แต่อภิรัฐมนตรีสภาปฏิเสธเสียงแข็งไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญหรือแนวคิดปฏิรูปการเมืองใดๆ พวกเชื้อพระวงศ์ก็ป้องกันตัวเองจากภาษีใหม่โดยยกภาระไปให้ชนชั้นกลาง หนังสือพิมพ์พากันโจมตีความอย่างรุนแรง

และแล้วสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยาม ก็ต้องพ่ายแพ้แก่การปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยการยึดอำนาจครั้งนี้กระทำโดยชนชั้นนำ ข้าราชการที่มีการศึกษาสูง และนายทหาร ไม่มีการลุกฮือของมวลชน ไมมีคนจากชนบทมาเข้าร่วม

การปฏิวัติเกิดขึ้น ขณะที่ฝ่ายราชสำนักไปพักผ่อนหน้าร้อนประจำปีที่หัวหิน ที่ก่อนหน้าไม่กี่ปีรัชกาลที่ 7 ได้สร้างวังริมชายหาดชื่อ วังไกลกังวล เหล่าเชื้อพระวงศ์ถูกจับกุมโดยปราศจากความรุนแรง และการปฏิวัติก็สำเร็จภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ในขณะที่รัชกาลที่ 7 กำลังทรงเล่นกอล์ฟกับพระนางเจ้ารำไพพรรณีและนายหน้าค้าอาวุธชาวอังกฤษในตอนเช้าวันนั้น เมื่อได้ข่าวขณะอยู่หลุมที่แปด พระองค์ได้หันไปพูดกับราชินีว่า “เห็นไหมล่ะ ฉันว่าแล้ว
24 มิถุนายน 2475 เป็นการยึดอำนาจโดยกองทัพบกและกองทัพเรือฝ่ายทีไม่ใช่เจ้า และพันธมิตรที่เป็นข้าราชการพลเรือน




คณะราษฎรบุกยึดวังและจับกุมเชื้อพระวงศ์ระดับหัวแถว และยื่นข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้แก่รัชกาลที่ 7 ประกาศคณะราษฎรที่ดุดัน ซึ่งนายปรีดีเป็นผู้เขียนเองโดยจงใจโจมตีกษัตริย์ อย่างที่ไม่เคยมีใครกล้าทำมาก่อน เป็นการยื่นคำขาดต่อฝ่ายเจ้าว่า หากพวกเจ้าไม่ยินยอม ทางเลือกที่เหลือ คือการเป็นสาธารณรัฐหรือมีประธานาธิบดีเท่านั้น



การยื่นคำขาดนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้ราชสำนักตกตะลึงเท่านั้น
บางคนในคณะราษฎรเองก็ยังตะลึงงันไปด้วยเนื่องจากไม่สามารถคาดคิดว่าถ้าสยามไม่มีกษัตริย์แล้วจะอยู่กันได้อย่างไร



จดหมายจากผู้นำคณะราษฎรถึงรัชกาลที่ 7 ที่วังไกลกังวลหัวหิน มีการสรรเสริญเยินยอกษัตริย์ด้วยความนอบน้อม โดยขึ้นต้นด้วยคำว่า“ ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม” และจบด้วยประโยคแบบทางการว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ในคืนที่จดหมายไปถึง รัชกาลที่ 7 ทรงปรึกษาข้าราชบริพารว่าจะสู้กลับดีหรือไม่ หรือต้องหนีออกนอกประเทศ แต่ด้วยเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงถูกจับกุม พระองค์จึงไม่เหลือทางเลือกนอกจากต้องยอมไปก่อน

แต่พระองค์ก็ยืนยันความเป็นกษัตริย์ ด้วยการปฏิเสธคำสั่งให้กลับกรุงเทพฯ ด้วยเรือของกองทัพเรือ โดยทรงนั่งรถไฟพระที่นั่งกลับไปแทน ให้คณะผู้ก่อการเคลื่อนรถถังออกไปจากบริเวณอาคารท้องพระโรง และปฏิเสธที่จะลงพระนามในรัฐธรรมนูญโดยทันที โดยบอกเป็นนัยว่าคณะราษฎรโน้มเอียงไปทางลัทธิคอมมิวนิสม์ ทั้งนี้พระองค์เองได้ครุ่นคิดเรื่องรัฐธรรมนูญมานานแล้ว

วันถัดมาแกนนำคณะราษฎรกล่าวขอโทษสำหรับการยึดอำนาจ และการจาบจ้วงราชบัลลังก์ รัชกาลที่เจ็ดจึงยอมลงนามในรัฐธรรมนูญูและการนิรโทษกรรม ทรงเติมคำว่าชั่วคราว เข้าไปในรัฐธรรมนูญู บีบให้ผู้ก่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยต้องปรึกษากับราชสำนัก แต่รัชกาลที่ 7 ก็ต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ทำรัฐประหารซ้อน และยอมรับการจำกัดอำนาจและอภิสิทธิ์ที่มีมาแต่โบราณ

อิทธิพลหรืออำนาจของกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ขึ้นอยู่กับว่ากษัตริย์จะมีความสามารถใช้ประโยชน์จากบารมีส่วนตัว และอำนาจของตนเองได้อย่างไร แม้ความเสมอภาคจะเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญ แต่ก็ต้องปกป้องความล่วงละเมิดมิได้ของกษัตริย์ และรับรองความเป็นสมมุติเทพที่ยืนยันสนับสนุนการสืบราชสมบัติโดยสายเลือด ซึ่งมักจะแถลงว่าเป็นการผดุงความสืบเนื่องของวัฒนธรรมและรัฐไทย

สถาบันกษัตริย์ถูกแอบอ้างมาตลอด ว่าเป็นสถาบันที่จำเป็น เช่นเดียวกับภาษาและศาสนาไปโดยปริยาย กลายเป็นเอกลัษณ์และความจำเป็นของสังคมไทย ความขัดแย้งในรัฐธรรมนูญเรื่องสถาบันกษัตริย์ จึงเป็นสิ่งที่รับกันได้ ทั้งๆที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง รัฐธรรมนูญไทยยังยืนยันสถานะโดยประเพณีของกษัตริย์ในฐานะเป็นที่มาของความยุติธรรม เป็นจอมทัพ และเป็นผู้นำทางศาสนา

กษัตริย์มักจะทรงสิทธิ ในการปฏิเสธไม่ยอมลงนามในกฎหมาย และการแต่งตั้งต่างๆ และมีบทบาทสำคัญในยามวิกฤต เช่นเวลาระบอบรัฐสภาหยุดชะงักหรือภาวะสงคราม การออกมาแทรกแซงแต่ละครั้ง สามารถเสริมบุญบารมีของกษัตริย์และความเชื่อถือของประชาชนให้มากยิ่งขึ้น แต่ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเสื่อมอิทธิพลของกษัตริย์ในอนาคตได้เช่นกัน

ในประเทศอังกฤษ ระบบรัฐสภาพัฒนามาถึงขั้นที่รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจเกือบทั้งหมดของกษัตริย์ ในนามของกษัตริย์ บนฐานที่ว่ากษัตริย์จะได้รับการปรึกษาหารือก่อน และรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำแต่เพียงผู้เดียว ทำให้กษัตริย์ดูเสมือนเป็นประมุขที่มีอำนาจจริง และความเห็นถูกนำไปปฏิบัติ

ในขณะที่กษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะไม่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง เป็นการปกป้องกษัตริย์จากผลลบใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้พระราชอำนาจ ทางวังต้องคุยกับรัฐบาลตลอดเวลา และเตือนหากมีนโยบาย การแต่งตั้ง หรือแผนการใดที่น่าสงสัยหรือสุ่มเสี่ยง ศิลปะของกษัตริย์สมัยใหม่ คือการนำพารัฐบาลและสังคมไปอย่างเงียบๆ ไม่ต้องสำแดงการใช้อำนาจออกมาให้เห็น

รัชกาลที่ 7 ทรงเติมคำว่าชั่วคราว ลงใน พ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครอง 27 มิถุนายน 2475 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เริ่มด้วยการลดสถานะของกษัตริย์ โดยประกาศว่า อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎร ผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรประกอบด้วย กษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการราษฎรและศาลโดยเท่าเทียมกัน กษัตริย์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการคัดเลือกรัฐบาล คณะราษฎรเป็นผู้แต่งตั้งสภาผู้แทนราษฎรและคณะกรรมการราษฎรในครั้งแรก หลังจากนั้นจะมาจากการเลือกตั้ง คณะกรรมการราษฎรเป็นผู้แต่งตั้ง และกำกับการทำงานของนายกรัฐมนตรี เเละคณะรัฐมนตรี

กษัตริย์ไม่สามารถสั่งการใดๆ หากไม่มีการลงนามจากคณะกรรมการราษฎรอย่างน้อยหนึ่งคน ไม่ได้ให้กษัตริย์มีสถานะไม่ต้องรับผิด แม้ว่าจะไม่มีใครสามารถฟ้องร้องกษัตริย์ในศาลได้ แต่สภาสามารถไต่สวนและถอดถอนกษัตริย์ใด้ และสภาเป็นผู้ให้ความเห็นชอบต่อการสืบราชสมบัติ แม้จะมีกฎมณเฑียรบาล 2467 ก็ตาม



รัฐบาลใหม่ไม่ได้ตัดบรรดาเจ้าออกไป มีแต่เชื้อพระวงศ์รุ่นใหญ่เท่านั้นที่ถูกกันออกไป มีเพียงรายเดียวที่ถูกเนรเทศ นั่นคือ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธ์ อดีตผู้บัญชาการกองทัพ ที่มีสิทธิขึ้นครองราชย์ ข้าราชการที่จงรักภักดีจำนวนมากยังคงทำงานกับรัฐบาล







พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ผู้พิพากษาอาวุโสได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ทั้งๆที่เคยเป็นสมาชิกสภาองคมนตรี ของรัชกาลที่ 7 และภรรยาก็ทำงานรับใช้พระราชินีรำไพพรรณี พระยาศรีวิสารวาจา ผู้นิยมเจ้าอย่างเข้มข้น ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ




30 มิถุนายน2475 สองวันหลังจากเปิดประชุมสภา ทรงแจ้งต่อรัฐมนตรีใหม่ว่า พระองค์มีสุขภาพไม่ดี สายตาเเย่ และกำลังคิดที่จะสละราชสมบัติ เนื่องจากเจ้าฟ้าบริพัตรถูกรัฐบาลสั่งเนรเทศ พระองค์จึงเสนอชื่อรัชทายาท ซึ่งเป็นลูกชายคนโตของเจ้าฟ้ามหิดล คือพระองค์เจ้าอานันทมหิดลวัย 6 ขวบ หากรัฐบาลกดดันพระองค์มากไปรัชกาลที่ 7 ก็จะทรงลาออกจากราชบัลลังก์ ซึ่งคงทำให้รัฐบาลขาดความชอบธรรม

รัฐบาลคณะราษฎรพยายามหว่านล้อมรัชกาลที่ 7 หมั่นรายงานพระองค์ถึงเรื่องราวและนโยบายที่สำคัญๆ เมื่อรัฐบาลยุบเลิกกองเลขาธิการส่านพระองค์ ตัดงบราชสำนัก และปลดเกษียณข้าราชบริพารอาวุโสหลายคน


รัชกาลที่ 7 ได้รับการปรึกษาและดูเหมือนจะทรงเห็นด้วย ทรงเห็นชอบระบบภาษีใหม่ที่กระทบเจ้าที่ดินรายใหญ่โดยเฉพาะเจ้าและขุนนางศักดินาเก่า บรรดาเจ้าฟ้าชั้นสูงก็คอยยุแหย่ อยู่หลังฉาก ด้วยการป้ายสีนายปรีดีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และแอบเจรจาหาการสนับสนุนจากอังกฤษและอเมริกา

เดือนกันยายน 2475 เจ้าระดับสูงได้ยกเรื่องสละราชสมบัติมาขู่อีกครั้ง ถ้าหากรัฐธรรมนูญไม่เป็นที่พอใจของทางวัง พวกวังเตือนว่าอาจจะเกิดสงครามตามมาโดยมีมหาอำนาจต่างชาติเข้าร่วมด้วย คำขู่ของรัชกาลที่เจ็ดดูจะมีผล รัฐธรรมนูญฉบับถาวรเดือนธันวาคมยอมตามความต้องการส่วนใหญ่ของวัง กษัตริย์ถูกยกในสถานะสูง อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวสยาม กษัตริย์ เป็นจอมทัพไทย มีความศักดิ์สิทธิ์และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ การสืบสันตติวงศ์เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลปี 2467 เป็นประกันการสืบราชวงศ์จักรี สายรัชกาลที่ 5

วันที่ 7 ธันวาคม 2475 มีการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญใหญ่โต ประหนึ่งเป็นการฟื้นฟูอำนาจกษัตริย์กลับคืนมา เป็นครั้งแรกที่รัชกาลที่ 7 สวมมงกุฎและทรงเครื่องเต็มยศ ผู้นำคณะราษฎรถวายดอกไม้ ธูป เทียน เหมือนถวายพระ กราบบังทมทูลขอพระราชทานอภัยโทษ และยอมรับว่าบุรพมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีได้นำความก้าวหน้ามาสู่สยาม

รัชกาลที่ 7 ตรัสว่า “ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ฉันซาบซึ้งใจคือ ในคำขอพระราชทานอภัยโทษของพวกท่าน ได้กล่าวถึงพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์จักรีจำนวนมากที่ได้สร้างความเจริญก้าวหน้าแก่สยาม นี่เป็นเรื่องจริง ที่พวกท่านกระทำดังนี้ก็เป็นเกียรติแก่ตัวท่านเอง เพราะพวกท่านได้แสดงให้เห็นว่า พวกท่านมีธรรมะอยู่ในหัวใจ การสารภาพความผิดพลาดนั้น ฉันเชื่อว่า จะช่วยให้สาธารณชนเชื่อมั่นในตัวพวกท่าน


แม้ในอีกหลายสิบปีต่อมาจนถึงสมัย
รัชกาลที่ 9 ก็ยังมีการอ้างว่าระบอบประชาธิปไตยของไทยไม่ได้มาจากการปฏิวัติ หากแต่ได้รับการพระราชทานมาจากรัชกาลที่ 7 ทำให้ความสำเร็จของคณะราษฎรจะถูกลบหายไป



หนึ่งเดือนหลังจากนั้น รัชกาลที่ 7 ก็ได้โอกาสสร้างความขัดแย้งในคณะราษฎร ขณะเศรษฐกิจถดถอยอย่างต่อเนื่อง นายปรีดึ ได้ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจที่เสนอให้รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมปัจจัยการผลิต ที่ดินและเงินทุนส่วนใหญู่ของประเทศ





รัชกาลที่ 7 พร้อมด้วยพระยามโนปกรณ์และพระยาศรีวิสารวาจา ได้ฉวยโอกาสประณามโจมตีนายปรีดีอย่างขนานใหญ่ ว่านายปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์ รัชกาลที่ 7 ก็ทรงขู่จะสละราชสมบัติอีกครั้ง โดยอ้างแผนเค้าโครงเศรษฐกิจ ของปรีดีเป็นต้นเหตุ ทรงให้พระยามโนปกรณ์นายกรัฐมนตรีจัดการปลดบรรดาผู้ก่อการออกจากรัฐบาล พระยามโนปกรณ์ก็สั่งห้ามข้าราชการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง

ขณะที่ครอบครัวมหิดลถูกส่งไปโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อความปลอดภัย คณะราษฎรตอบโต้ด้วยการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เมื่อเห็นว่าพระยามโนปกรณ์นายกรัฐมนตรีอาจจะแพ้โหวต รัชกาลที่เจ็ดจึงปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 1 เมษายน 2476 ฝ่ายนิยมเจ้าได้เลื่อนตำแหน่งราชการ รัชกาลที่ 7 ลงนามประกาศใช้กฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ บีบให้ปรีดีต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ

20 มิถุนายน 2476 คณะราษฎรแก้คืน ด้วยการทำรัฐประหารขับพระยามโนปกรณ์นายกรัฐมนตรี นำโดยจอมพลป.พิบูล สองวันถัดมา สภาเลือกพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้นำการปฏิวัติ 2475 เป็นนายกรัฐมนตรี พระยาพหลได้เชิญนายปรีดีกลับประเทศและเข้าร่วมสภาผู้แทนราษฎร โดยนายปรีดีต้องเลิกทัศนะซ้ายสุดโต่ง




รัชกาลที่ 7 ทรงเชื่อว่าสามารถบีบคณะราษฎรด้วยการขู่สละราชสมบัติ ซึ่งใช้ได้ผลมาแล้วหลายครั้ง เพราะคณะราษฎรต้องยึดกษัตริย์เอาไว้เพื่อจะสยบความเคลื่อนไหวของฝ่ายนิยมเจ้า แต่สมาชิกสภาก็ตอบโต้ด้วยการยื่นญัติถอดถอนกษัตริย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และผู้นำแรงงานคนหนึ่งยื่นฟ้องรัชกาลที่ 7 ข้อหาหมิ่นประมาทนายปรีดี



12 ตุลาคม 2476 พระองค์เจ้าบวรเดช ผู้บัญชาการทหารเชื้อสายเจ้าสมัยก่อน2475 ได้นำนายทหารฝ่ายนิยมเจ้า ทำการรัฐประหารในนามของวัง





จอมพลป.พิบูลสงครามบัญชาการสู้ศึก เกิดสงครามกลางเมือง เครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มกรุงเทพฯ และมีการสู้รบบนท้องถนนในหลายเมือง ทั้งสองฝ่ายต่างช่วงชิงการรับรองจากกษัตริย์ รัชกาลที่ 7ประทับอยู่ที่หัวหินทรงวางท่าทีว่าเป็นกลาง ครั้นเห็นกบฏบวรเดชเพลี่ยงพล้ำ ทรงพร้อมข้าราชบริพารถอยไปตั้งหลักยังพรมแดนมลายู ที่อังกฤษควบคุมอยู่

หลังจากสู้รบอย่างดุเดือดสองสัปดาห์ จอมพลป.ก็ประกาศชัยชนะ ผู้นำกบฏเสียชีวิตไปหลายคน พระองค์เจ้าบวรเดชหนีออกนอกประเทศ การเกิดกบฏบวรเดชทำให้คณะราษฎรหมดความตั้งใจที่จะร่วมงานกับวัง


สองสามสัปดาห์หลังการก่อกบฏ รัชกาลที่ 7ทรงประกาศแผนการเดินทางไปต่างประเทศ อ้างว่าเพื่อไปรักษาพระเนตร วันที่ 12มกราคม 2477 พระองค์ได้เสด็จไปอังกฤษพร้อมข้าราชบริพารจำนวนมากโดย ให้
กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ โอรสอายุ 70 ปีของรัชกาลที่ 4 เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์




รัชกาลที่ 7 ทรงยื่นคำขาดจากกรุงลอนดอน
เพื่อแลกกับการกลับประเทศ โดยพระองค์ต้องการอำนาจตามรัฐธรรมนูญมากขึ้น เช่น สิทธิในการเลือกสมาชิกครึ่งหนึ่งของสภา การควบคุมงบประมาณของกษัตริย์ และอำนาจการยับยั้งที่จะไม่เป็นผลก็ต่อเมื่อสภายืนยันด้วยเสียง 3 ใน 4





ส่วนการที่รัฐบาลมีแผน จะสำเร็จโทษผู้มีส่วนร่วมในกบฏบวรเดช รัชกาลที่เจ็ดก็ยังทรงยืนยันสิทธิตามประเพณีของพระองค์ในการตัดสินคดีประหารชีวิต โดยพระองค์ต้องการให้ปล่อยนักโทษในคดีกบฏบวรเดช หากไม่ตกลงก็จะสละราชย์ และขายทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งรวมถึงวัง วิหาร และพระแก้วมรกต ตามรายงานข่าวที่ปรากฏ

รัฐบาลที่กรุงเทพฯ ไม่เกรงกลัวการสูญเสียการรับรองจากกษัตริย์อีกต่อไปแล้ว จึงปฏิเสธไปเกือบทุกข้อ ต้นเดือนมีนาคม 2478 รัชกาลที่ 7 จึงต้องสละราชย์ โดยไม่มีอะไรเหลือนอกจากความเป็นศัตรู ซึ่งพระองค์ได้เขียนบันทึกไว้ และทรงพำนักอยู่ในยุโรปตลอดพระชนม์ชีพ


ขณะสละราชสมบัติ รัชกาลที่ 7 ได้
ทรงทิ้งประโยคทองที่ยืนยันความสูงส่งของพระองค์ไว้เป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งมันไม่ได้ช่วยอะไรพระองค์เลย แต่มันได้กลายเป็นประโยคหากิน หรือวาทกรรมอมตะ ที่ใช้อ้างกันเป็นประจำในสมัยรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นหลานลุงของรัชกาลที่ 7





...ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองที่ไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้บุคคลใด ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้

....ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร...

แต่ข้อเท็จจริง คือทางวังได้พยายามดิ้นรนต่อสู้ขัดขวาง กระบวนการประชาธิปไตย มาโดยตลอด ซึ่งมันก็ตรงกันข้ามกับคำแถลงในการสละราชสมบัติของพระองค์ มันก็เลยทำให้คำแถลงของพระองค์ ไม่มีความหมายและเป็นแค่เพียงเรื่องโกหกตอแหลเท่านั้นเอง ....

..........

ไม่มีความคิดเห็น: