วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ตำนานๆ 009012 : กองทัพมาก่อนประชาชน

ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/1e2tcGHI/The_Royal_Legend_012.html
หรือที่ :
http://www.mediafire.com/?8fkvsdxmxwt4ddi 
    
ตำนานๆ 009012 : กองทัพมาก่อนประชาชน
.............











คืนวันจันทร์ 11 พฤษภาคม 2535 นายบรรหารกับพล.อ.อ.เกษตร กลับคำและประกาศว่าไม่เคยมีการตกลงใดๆ ขณะที่นายกสุจินดาขู่จะใช้กำลังอย่างเฉียบขาด

เมื่อรัฐบาลสุจินดากลับคำไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ผู้ประท้วงก็กลับมาในวันอาทิตย์ 17 พฤษภาคม 2535 คราวนี้นำโดย สมาพันธ์ประชาธิปไตย เป็นคณะกรรมการประกอบด้วยผู้นำเอ็นจีโอ ผู้นำแรงงาน ผู้นำนักศึกษา


และหัวหน้าพรรคการเมืองคือพลตรีจำลองและพลเอกชวลิต เป็นขบวนเคลื่อนไหวที่มีฐานสนับสนุนกว้างขวางเดินหน้าเรียกร้องแก้ไขรัฐธรรมนูญและให้นายกสุจินดาลาออก นายกสุจินดาก็ให้นายพลตำรวจจปร.5 พล.ต.ท.บุญชู วังกานนท์ที่มีกิตติศัพท์โหดเหี้ยมมาจัดการกับผู้ประท้วง กองทัพวางกำลังทหารราว 40,000 นาย รายรอบกรุงเทพและตั้งจุดตรวจรอบสวนจิตรฯ มีการอารักขาอย่างแน่นหนาโดยทหารติดอาวุธ

สองทุ่ม 17 พฤษภาคม ฝูงชนสนามหลวงเพิ่มเป็น 150,000 คนผู้นำสมาพันธ์ประชาธิปไตยจะเคลื่อนขบวนไปทำเนียบรัฐบาล แต่ถูกหยุดตรงสะพานผ่านฟ้าอีกครั้ง


โดยมีตำรวจจราจรกระจายอยู่หลังรั้วลวดหนามเบื้องหลังตำรวจคือกำลังทหารติดอาวุธพร้อมรบ ตำรวจที่ไม่มีเครื่องมือควบคุมฝูงชน จงใจพากันแตกฮือหลบหนี เพื่อให้ทหารมีข้ออ้างก้าวเข้ามาตามแผน เมื่อรัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉิน ทหารตั้งแถวพร้อมยุทโธปกรณ์และรถหุ้มเกราะ ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ปักหลักบริเวณสะพานผ่านฟ้า มีคนเผารถไปหลายคันรวมทั้งสถานีตำรวจ


ตอนดึก 17 พฤษภาคม 2535
กำลังทหารเคลื่อนที่เข้าหาฝูงชน เริ่มสาดกระสุนเข้าใส่ ฝูงชนแตกตื่นหลบหนี มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคน



พอเช้าวันใหม่มีการฉีดน้ำล้างเลือดบนถนน ข่าวโทรทัศน์รายงานว่าผู้ประท้วงพยายามบุกเข้าวังสวนจิตรดา กองทัพอ้างว่าผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายยิงก่อน ซึ่งเป็นเรื่องโกหกทั้งสิ้น ไม่มีการยิงจากฝ่ายผู้ชุมนุม ไม่มีการพบปืนหรือมีด ไม่มีใครไปใกล้วังสวนจิตร และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสลายฝูงชน เพราะวันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม 2535 เป็นวันหยุด ไม่มีใครมาทำงานในถนนราชดำเนิน

ฝ่ายเรียกร้องประชา ธิปไตยถูกปฏิเสธจากวังอย่างไม่ใยดี พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทำเป็นไม่รู้อะไรเลย พลเอกสุจินดาประกาศทางโทรทัศน์ว่า ผู้ประท้วงของพลตรีจำลองมีปืนและคุกคามวัง
บ่ายวันจันทร์ 17 พฤษ ภาคม 2535 พลตรีจำลองและผู้ชุมนุมหลายพันคนกลับมานั่งประท้วงบนถนนราชดำเนินอีกครั้ง ทหารเคลื่อนกำลังเข้าจับกุมพวกเขา

เย็นวันนั้น ฝูงชนกลับมารวมตัวกันที่สนามหลวง มีการวางเครื่องกีดขวางไม่ให้คนเดินขบวนลงมาถนนราชดำเนิน พอมืด ทหารวางกำลังโอบล้อมบริเวณที่ชุมนุม เล็งปืนกลผ่านแนวลวดหนาม พอผู้ชุมนุมจุดไฟเผารถเมล์หลายคันและเริ่มดันรถไปยังเครื่องกีดขวาง นักแม่นปืนที่อยู่บนหลังคาและทหารบนพื้นดินก็ยิงเข้าใส่ฝูงชน มีผู้เสียชีวิตหลายคน

หลังเที่ยงคืน ทหารกวาดล้างบริเวณที่ชุมนุม และออกหมายจับผู้นำสมาพันธ์ประชาธิปไตย ข่าวการกวาดล้างกระจายไปทั่วกรุงเทพฯ


ผู้คนถามกันว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลประทับอยู่ที่ไหน ทำไมจึงไม่ทรงยุติสถานการณ์ ในหลวงทรงสนับสนุนพลเอกสุจินดา หรือว่าทรงถูกขัดขวางโดยกำลังทหารและรถหุ้มเกราะที่ล้อมวัง มีข่าวลือว่าพระเจ้าอยู่หัวถูกทหารคุมตัวหรือเสด็จหนีไปโคราชพร้อมพลเอกเปรมเหมือนปี 2524 เพื่อรวบรวมกำลังทหารมาสู้กับรัฐบาลสุจินดาโดยเชื่อว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่มีทางเข้าข้างพลเอกสุจินดา แต่กองทัพก็เตรียมพร้อมรบเพราะเชื่อว่าพลเอกชวลิตกับพลตรีจำลองจะระดมกำลังทหารมาสู้

19 พฤษภาคม 2535 ฟ้าชายวชิราลงกรณ์เสด็จสนามบินเพื่อเยือนเกาหลีใต้ด้วยการคุ้มกันโดยพล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล ฟ้าหญิงสิรินธรเสด็จปารีส มีเสียงเรียกร้องให้พระเจ้าอยู่หัวออกมาช่วยแก้ไขสถานการณ์ พระญาณสังวรนำมหาเถรสมาคมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดฆ่ากัน แม้ว่าไม่มีใครในฝ่ายรัฐบาลสุจินดาถูกฆ่าเลยก็ตาม

ฟ้าหญิงสิรินธรทรงวิงวอนขอความสงบและความสามัคคีด้วยเทปที่บันทึกจากปารีส ทรงบอกว่าพระองค์ได้พยายามโทรหาพระราชวงศ์แต่ติดต่อไม่ได้ ผู้คนเชื่อว่าฟ้าหญิงสิรินธรถูกกันไม่ให้ติดต่อกับพระเจ้าอยู่หัว นายกสุจินดาออกโทรทัศน์ปฏิเสธว่าทั้งเขาและพระราชวงศ์ไม่ได้หนีออกจากกรุงเทพฯ และประณามพลเอกชวลิตและพลตรีจำลองว่าต้องการทำลายพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์

20 พฤษภาคม 2535 มีข่าวลือว่ากลุ่มแก๊งต่างๆในกองทัพจะแย่งชิงอำนาจกันเอง แต่ไม่ชัดเจนว่าพระเจ้าอยู่หัวอยู่ข้างใด กำลังของพลเอกสุจินดาได้ยึดครองกรุงเทพฯชั้นในทั้งหมดและมีการยิงต่อสู้กันประปราย


พลเอกสุจินดาแถลงสั้นๆ ทางโทรทัศน์พร้อมหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล นายณรงค์ วงศ์วรรณ นายบรรหารและนายสมัคร ว่าสามารถคุมสถานการณ์ได้
นายสมัครยืนยันว่าการยิงประชาชนนั้นสามารถทำได้เพราะเป็นพวกคอมมิวนิสต์




ค่ำ 20 พฤษภาคม 2535ผู้ประท้วงหลายหมื่นคนรวมตัวที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทหารเริ่มเคลื่อนย้ายกำลังไปทางนั้น


สี่ทุ่มเศษโทรทัศน์แพร่ภาพมัว เสียงอู้อี้ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลประทับนั่งบนเก้าอี้ พลเอกเปรมกับนายสัญญาคุกเข่าอยู่สองข้าง พลตรีจำลองกับพลเอกสุจินดานั่งพับเพียบค้อมตัวแทบจะเหมือนกราบอยู่บนพื้นเบื้องหน้า

พระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชวาทว่า “คงเป็นที่แปลกใจ ทำไมถึงเชิญให้ท่านมาพบกันอย่างนี้ แต่ที่จะแปลกใจก็อาจมีว่าทำไมเชิญพลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เพราะว่า อาจมีผู้ที่แสดงเป็นตัวละครมากกว่านี้ แต่ว่าที่เชิญมาเพราะว่า ตั้งแต่แรกที่มีเหตุการณ์ สองท่านเป็นผู้ที่เผชิญหน้ากัน แล้วก็ในที่สุด เป็นการต่อสู้หรือการเผชิญหน้ากว้างขวางขึ้น...

การที่จะเป็นไปอย่างนี้ต่อไป จะเป็นเหตุผลหรือต้นตออย่างไรก็ช่าง เพราะเดี๋ยวนี้เหตุผลเปลี่ยนไป ถ้าหากว่าเผชิญหน้ากันแบบนี้ต่อไป เมืองไทยมีแต่ล่มจมลงไป



ตรัสว่า บางคนได้เสนอทางแก้ปัญหาด้วยการยุบสภาแล้วจัดเลือกตั้งใหม่ แต่พรรคการเมืองเกือบทั้งหมดปฏิเสธ พระองค์จึงทำไม่ได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยังเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดี





ทรงเล่าว่านายกสุจินดาเห็นด้วยว่าควรประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ และแก้ไขต่อไปได้
แต่ตอนหลังพลเอกสุจินดายืนยันว่า แก้ไขได้ก็ค่อยๆแก้ให้เป็นประชาธิปไตย ตามพระบรมราโชวาทที่ทรงให้ไว้ ทั้งๆที่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลสนับสนุนและปกป้องรัฐธรรมนูญของรสช.มาโดยตลอด




ด้วยความกลัวว่าประเทศจะล่มจม ทรงตรัสว่า “ฉะนั้นก็ขอให้โดยเฉพาะสองท่าน คือพลเอกสุจินดา และพลตรีจำลองช่วยกันคิดคือหันหน้าเข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากัน เพราะว่าเป็นประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน เป็นประเทศของทุกคน… แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะ เวลาอยู่บนกองซากปรักหักพัง

ทรงปิดท้ายด้วยการเกลี่ยกล่อมให้หันหน้าเข้ากันและช่วยกันแก้ปัญหา “และก็เชื่อว่าทั้งสองท่าน ก็เข้าใจว่า จะเป็นผู้ที่ได้สร้างประเทศจากซากปรักหักพัง แล้วก็จะได้ผลในส่วนตัวมาก ว่าได้ทำดี แก้ไขอย่างไรก็แล้วแต่ที่จะปรึกษากัน ก็มีข้อสังเกตดังนี้”

เนื่องจากเสียงทางโทรทัศน์แย่มาก ภาพที่เห็นคือพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้พลตรีจำลองและพลเอกสุจินดามานั่งอยู่แทบพระบาท โดยมีพลเอกเปรมและนายสัญญาขนาบข้าง เป็นการแสดงพระบรมเดชานุภาพที่ไม่มีใครสามารถบังอาจโต้แย้งพระเจ้าอยู่หัวได้ ประเด็นพระราชดำรัส คือทรงตำหนิพลตรีจำลองกับขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยว่าเป็นต้นเหตุของความวุ่นวาย



เพราะไม่ยอมฟังพระบรมราโชวาท 4 ธันวาคม ที่
ให้ค่อยๆ แก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งพระองค์เองไม่เคยเห็นความจำเป็นของการแก้ไข แต่พลเอกสุจินดากลับเป็นผู้ที่เปิดใจรับสนองพระบรมราโชวาทและยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญ





พระเจ้าอยู่หัวดูเหมือนจะถามว่า แล้วทำไมถึงยังออกมาต่อสู้บนท้องถนนกันอยู่อีก แทนที่พระองค์จะทรงยอมรับกระแสเรียกร้องของประชาชนและเห็นว่ารัฐบาลสุจินดาเป็นฝ่ายผิดที่ปฏิเสธจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ


และ
พระองค์น่าจะรู้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเป็นไปไม่ได้เลยเนื่องจากกองทัพครอบงำวุฒิสภา แต่กลับทรงบิดเบือนประเด็นให้เรื่องทั้งหมดเป็นเพียงความอาฆาตพยาบาทส่วนตัวของพลตรีจำลอง





วันถัดมา ทั่วทั้งโลกต้องตะลึงและชื่นชมพระอัจฉริยภาพ ความรุนแรงและการประท้วงหยุดลง
พลเอกเปรมในนามของในหลวงได้สั่งพลตรีจำลองให้ผู้ประท้วงยุติการเคลื่อนไหว นายกสุจินดาถูกสั่งให้ลาออก และพรรคการเมืองก็ถูกสั่งให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ



แต่พลเอกสุจินดา พล.อ.อ.เกษตรและพลเอกอิสระพงษ์ยังยืนยันว่าการกระทำของพวกตนเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมายและจำเป็นเพื่อป้องกันตัวจากผู้ประท้วงที่บุกโจมตีด้วยปืน ระเบิดมือและระเบิดเพลิง ซึ่งไม่เป็นความจริง พลเอกสุจินดาขออยู่ในตำแหน่งนายกฯต่อไปจนกว่ารัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จ และยังเรียกร้องการนิรโทษกรรมเพื่อคุ้มครองตนเองและพวก แม้ว่าขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยจะไม่พอใจ แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงโปรดเกล้าฯประกาศนิรโทษกรรม

วันอาทิตย์ 24 พฤษภาคม 2535 นายกสุจินดาลาออก โดยประกาศว่าได้ทำตามตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าอยู่หัวเพื่อความสงบและความสมานฉันท์ วันถัดมา สภาเปิดประชุมโดยมีมือกฎหมายของรสช. ที่เคยรับใช้พลเอกเปรมมานาน คือนายมีชัย ฤชุพันธ์ ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่หนึ่งและที่สองไปอย่างรวดเร็ว วาระสามมีกำหนดในอีกสองสัปดาห์ถัดไป

พลเอกสุจินดายังคงเป็นรัฐมนตรีกลาโหม และพล.อ.อ.เกษตร พลเอกอิสระพงษ์กับคนอื่นๆ ยังอยู่ในตำแหน่งเดิมในกองทัพ พรรคการเมืองที่สนับสนุนพลเอกสุจินดายังคงควบคุมสภาอยู่ มีวุฒิสภาที่รสช.แต่งตั้ง รสช.ไม่สำนึกผิด และอ้างว่าได้ปกป้องพระเจ้าอยู่หัวและประเทศชาติจากคอมมิวนิสต์ที่ปลุกปั่นยุยง เมื่อฝ่ายประชาธิปไตยเรียกร้องให้ยกเลิกการนิรโทษกรรม พวกเขาก็ขู่จะทำรัฐประหารอีก

ต่อมา พรรคร่วมรัฐบาล 5 พรรคเสนอชื่อพล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทยเป็นนายกรัฐมนตรี แต่พอประธานสภาผู้แทนราษฎร นายอาทิตย์ อุไรรัตน์เสนอชื่อขึ้นไป พระเจ้าอยู่หัวทรงเงียบเฉย หลังจากการกราบบังคมทูลเสนอชื่อพล.อ.อ.สมบุญถูกปฏิเสธอย่างไม่เป็นทางการเป็นครั้งที่สองในต้นเดือนมิถุนายน พลเอกเปรมประกาศว่าในหลวงภูมิพลทรงต้องการให้นายกฯ เป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งหมด


10 มิถุนายน 2535 การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะผ่านวาระสาม นายอาทิตย์ อุไรรัตน์เข้าวังเพื่อเสนอชื่อพล.อ.อ.สมบุญ แต่พระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้นายอานันท์ ปันยารชุนเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แม้ว่าจะไม่ได้เป็นสส.แต่ก็เป็นนายกฯได้เพราะในหลวงยังมิได้ทรงประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขใหม่ซึ่งหลายวันต่อมาจึงได้มีการประกาศใช้


หลายเดือนต่อมา นายกอานันท์ได้คลี่คลายความตึงเครียดและประคองเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ เขายุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งในเดือนกันยายนอย่างราบลื่น พรรคการเมืองแบ่งเป็นพรรคมารกับพรรคเทพ พรรคเทพหรือพรรคฝ่ายค้านเดิมเป็นฝ่ายชนะและได้จัดตั้งรัฐบาลนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ และนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี


การเสด็จออกโรงอย่างสง่างามของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ทั่วโลก กลายเป็นผลงานบันลือโลกของพระมหากษัตริย์ไทย ฝีมือการสงบศึกของพระเจ้าอยู่หัวเป็นสิ่งยืนยันล่าสุดถึงคุณค่าที่ยั่งยืนนานของสถาบันพระมหากษัตริย์ในยุคปัจจุบัน เป็นการยืนยันถึงความยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ของประชาชนไทย ทรงมีบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในสถานการณ์วิกฤตและเป็นผู้นำในภาวะที่ไร้การนำ

ทรงปฏิบัติได้อย่างดีมีความชำนาญ ด้วยการที่ทรงลดคุณค่าของเหตุการณ์ทั้งหมดให้เป็นเพียงการขัดแย้งต่อสู้กันส่วนตัวระหว่างคนมักใหญ่ใฝ่สูงสองคนแล้วก็ทรงสั่งยุติการชก ทรงหลีกเลี่ยงการสร้างความแตกแยกของพสกนิกรที่จงรักภักดีต่อพระองค์ และการประณามกองทัพที่เป็นเสมือนหน่วยรักษาพระองค์ และยังทรงหลีกเลี่ยงประเด็นหลักจริงๆ คือ เรื่องรัฐธรรมนูญอีกด้วย

ปัญหาคือทำไมจึงเกิดวิกฤติการณ์นองเลือดเข่นฆ่าประชาชนที่เรียกร้องสิทธิประชาธิปไตย กษัตริย์สมัยใหม่ของยุโรปได้เต็มใจพยายามพัฒนาสถาบันอื่นๆ และหลักกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด จะได้ไม่ต้องออกมาแทรกแซงซึ่งเสี่ยงต่อความเสื่อมเสียของสถาบันเอง

ตรงกันข้าม พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลกลับทรงบ่อนทำลายพัฒนาการของสถาบันอื่นๆ มาโดยตลอด โดยทรงมองว่าสถาบันทางการเมืองเป็นคู่แข่งบารมีกับพระองค์ แทนที่ทรงมองว่าสถาบันทางการเมืองเป็นโล่กำบังให้สถาบันพระมหากษัตริย์รอดพ้นจากความขัดแย้งและการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย

การที่กษัตริย์เข้ามาแทรกแซงการเมืองยิ่งเป็นการซ้ำเติมความอ่อนแอของรัฐบาลที่ต้องคอยให้พระองค์ช่วยอยู่เรื่อยๆ และกลายเป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่ต้องสรรหารัฐบาล สภาไม่ยอมทำหน้าที่สรรหารัฐบาลตราบใดที่พระมหากษัตริย์ยึดกุมหน้าที่สรรหารัฐบาล และพระองค์ก็จะยิ่งทรงถลำลึกไปกับการเมือง และเกมของอำนาจมากขึ้น

พฤษภา 2535 แสดงถึงหลักคิดของในหลวงภูมิพลว่าด้วยรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีอคติต่อนักการเมือง ทรงมีความคิดล้าหลังไม่ทันการเปลี่ยนแปลงที่ได้เกิดขึ้นในช่วงการดำรงตำแหน่งอันยาวนานของพระองค์


ทั้งๆที่นักการเมืองอย่างพลตรีจำลองและนายกชาติชายได้รับความนิยมจากประชาชน แต่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลก็ยังทรงยึดมั่นเหนียวแน่นอยู่กับบรรดาแม่ทัพนายพลของพระองค์


ซึ่งไม่ใช่ทหารที่ดีที่สุด แต่กลับเป็นพวกทหารที่ทุจริตละโมบมักใหญ่ใฝ่สูงอย่างพลเอกอาทิตย์ พลเอกชวลิตและพลเอกสุจินดาซึ่งล้วนผงาดขึ้นมาภายใต้บารมีของพลเอกเปรมผู้เป็นขุนพลคู่พระบารมี ขณะที่ทหารอาชีพกลับร่วงหล่นไปตามๆกัน แต่พระเจ้าอยู่หัวและพระราชินียังทรงโปรดปรานพวกนายทหารทุจริตเหล่านี้มากกว่าพวกนักการเมืองมือสะอาดด้วยซ้ำ เมื่อในหลวงภูมิพลทรงแสดงความโปรดปรานต่อทหารในเดือนธันวาคม 2533 ทำให้พลเอกสุจินดามีข้ออ้างที่จะทำการยึดอำนาจ
บรรดาองครักษ์พิทักษ์เจ้ามักจะช่วยแก้ตัวว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมรับการยึดอำนาจของรสช.ขณะเดียวกันก็ยังยืนยันว่ามันเป็นการรัฐประหารที่ประชาชนสนับสนุน แต่กระแสการต่อต้านรัฐบาลชาติชายเป็นผลจากการกล่าวหาโจมตีจากทั้งกองทัพและพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวเอง ในหลวงไม่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านตามวิถีทางรัฐธรรมนูญที่จะทำให้พลเอกสุจินดาไม่กล้ายึดอำนาจ พระองค์ปฏิเสธที่จะใช้พระราชอำนาจยุบสภาและกำหนดการเลือกตั้งใหม่ เพื่อแก้ไขเหตุฉุกเฉินทางการเมือง แต่พระองค์กลับทรงเพิกเฉย

หลังรัฐประหารยึดอำนาจของรสช. พระเจ้าอยู่หัวน่าจะมีพระราชดำรัสสนับสนุนหลักการรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยเพื่อเตือนสติพวกรสช. แต่พระองค์กลับรับรองรสช.ที่ละโมบโลภมากและทุจริตคอรัปชั่นมาเป็นปี ในเดือนธันวาคม 2534 ทรงรับรองพลเอกสุจินดาเมื่อมีพระบรมราโชวาทว่าไม่จำเป็นต้องยึดติดหลักการทางทฤษฎีหรือตำราใดๆ การที่ทรงแทรกแซงเรื่องรัฐธรรมนูญก็เป็นการกระทำก่อนเวลาอันควร พระองค์ควรรอให้สภาออกเสียงเสร็จก่อน

การแทรกแซงทางการเมืองถือเป็นพระราชกรณียกิจประจำของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทำให้สภาต้องพึ่งพิงการตัดสินพระทัยของพระองค์มาโดยตลอด หน้าที่ในการควบคุมกองทัพ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ล้วนถูกยกให้เป็นหน้าที่ของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลแต่ผู้เดียว

ฝีมือของในหลวงภูมิพลในการระงับสถานการณ์หลังการนองเลือดช่วง 18-20 พฤษภาได้ช่วยปิดบังอคติของพระองค์ที่มีมาโดยตลอดต่อพวกประท้วงและขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชน สิ่งที่ชี้ว่าพระองค์ทรงต่อต้านขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การที่ทรงเงียบเฉยต่อการเตรียมแผนไพรีพินาศ และการเปลี่ยนเส้นทางขบวนเสด็จของฟ้าหญิงสิรินธร

ตลอดจนการโฆษณาชวนเชื่อของสื่อที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพวกรับใช้เจ้าอย่างนายปีย์ มาลากุล แต่ด้วยความชำนาญที่ผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีอย่างในกรณี 14 ตุลา 2516 ทรงศึกษาระยะห่างจากพวกทหารพอที่จะปรากฏพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ของประชาชนได้ เมื่อทรงออกมาตำหนิสุจินดาและจำลอง ผู้ประท้วงก็เข้าใจเองว่าทรงไม่ได้บอกว่าประชาชนผิด รัฐธรรมนูญก็ได้รับการแก้ไขในที่สุด พวกเขาจึงเชื่อว่าในหลวงอยู่ข้างพวกเขา

ทำไมในหลวงภูมิพลทรงออกโรงหลังจากผู้ประท้วงถูกฆ่า ฝ่ายที่ปกป้องวังยืนยันว่าในหลวงไม่ชอบพลเอกสุจินดา แต่เนื่องจากพระองค์ไม่สามารถควบคุมสุจินดาได้ จึงต้องทรงรอจนกว่ากลุ่มแก๊งของสุจินดาทำลายตนเองเสียก่อน

และชี้ว่าในหลวงภูมิพลทรงออกโรง เมื่อแน่ใจว่าสำเร็จเท่านั้น ต้องกุมสภาพได้ จึงต้องรอเวลา เจ้ารุ่นใหญ่รายหนึ่งเรียกว่าเป็นท่าไม้ตายของพระองค์ คือ ในหลวงมีโอกาสเพียงครั้งเดียวที่จะทรงออกกระบี่ และจะต้องโดนจุดตาย หรือ ต้องให้จบในดาบเดียว พระองค์ไม่เสี่ยงประกาศยุบสภา เพราะพลเอกสุจินดาอาจเมินเฉย ทำให้เสื่อมพระบารมี คือในหลวงจะพลาดไม่ได้เด็ดขาด

ที่น่าสังเกตคือในหลวงทรงมอบหมายให้พลเอกเปรมคอยติดตามสถานการณ์ และพลเอกเปรมก็สื่อสารกับ รสช.และคนอื่นๆอยู่ตลอดเวลา และคอยรายงานต่อในหลวง องคมนตรีอื่นก็ต่อสายไปตามเครือข่ายของตน ไม่มีวี่แววใดๆว่าในหลวงถูกคุมตัวอยู่ในสวนจิตร คนของวังก็ไม่เคยอ้างว่าในหลวงไม่ทรงทราบสถานการณ์หรือทรงได้รับข้อมูลผิดพลาด ชี้ให้เห็นว่าในหลวงทรงรักกองทัพมากกว่าประชาชน เพราะสุจินดากับพวกรสช.ไม่ได้จงรักภักดี มีวินัย หรือเชื่อฟังมากไปกว่าคนไทยอื่นๆ เลย ถ้าหากสุจินดากับแก๊งจปร.5 บังเอิญเป็นทหารขี้โกง แล้วพวกเขามาไกลขนาดนี้ได้ยังไง

ทำไมในหลวงถึงได้ทรงกล่าวโทษพลตรีจำลองเป็นส่วนใหญ่ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 พลตรีจำลองถูกตำหนิที่ไม่ฟังคำชี้แนะเรื่องรัฐธรรมนูญที่ทรงตรัสในเดือนธันวาคม แต่พลเอกสุจินดากลับได้รับคำชมจากในหลวงที่ตกลงว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ ทรงละเลยข้อเท็จจริงว่ารัฐธรรมนูญและรัฐสภาถูกออกแบบมาเพื่อปิดทางสำหรับการแก้ไขใดๆ ที่พวกทหารไม่ต้องการ และยังทรงมองข้ามการที่พลเอกสุจินดาตระบัดสัตย์เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ในหลวงทรงหลีกเลี่ยงข้อสรุปที่ยอมรับกันในหมู่นักวิชาการและนักการทูตต่างชาติ ว่ากองทัพไทยเป็นตัวปัญหาใหญ่เชิงหลักการ เห็นได้ชัดจากพวกรสช.ที่ดื้อดึงเหิมเกริมอยู่อีกหลายเดือนหลังเหตุการณ์พฤษภา

ในวันที่นายกสุจินดาลาออก นายทหารคุมกำลังจัดชุมนุมแสดงพลังปกป้องวีรกรรมการสลายการชุมนุม เดือนกรกฎาคม พล.อ.อ.เกษตรขู่ว่าอาจมีการรัฐประหารอีก หลังจากนายกอานันท์ย้ายพวกรสช.เข้ากรุไปแล้ว กองทัพยังให้ความช่วยเหลืออย่างเปิดเผยต่อพรรคการเมืองในการหาเสียงเลือกตั้ง ปลุกกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้านและกอรมน.เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการสังหารหมู่ในเดือนพฤษภา ยืนยันว่าเป็นเรื่องภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์

ในหลวงภูมิพลทรงปกป้องกองทัพอีกหลายเดือน ปลายเดือนตุลาคม โปรดเกล้าฯให้นายทหารเลื่อนยศ 256 คนเข้าเฝ้า ไม่ได้ทรงเอ่ยถึงเหตุการณ์พฤษภา

แต่กลับทรงเล่นงานผู้ที่วิจารณ์กองทัพ คือนิตสารฟาร์อีสเทอร์นอีคอนอมิครีวิวที่วิจารณ์กองทัพไทยไร้ความสามารถในการป้องกันชายแดน แต่เต็มไปด้วยนายทหารยศสูงที่มีสัดส่วนสูงที่สุดในโลก ด้วยอัตรานายพลหนึ่งคนต่อทหาร 300-350 คน เป็นสิบเท่าของอัตราในตะวันตก จากนายพล 600 คนในกองทัพมีเพียงครึ่งหนึ่งที่บอกได้ว่าตนทำงานอะไร

ในหลวงภูมิพลทรงปฏิเสธเรื่องนี้ ทรงตอบโต้ว่า ผู้วิจารณ์นับนายพลเกษียณไปด้วย ซึ่งไม่จริง เพราะจำนวนนายพลหน้าใหม่ที่อยู่เบื้องหน้าพระองค์ก็ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ทรงยืนยันว่า “พูดกันมามากว่าเรามีนายพลมากเกินไปถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ก็ไม่จำเป็นจะต้องมามอบยศนายพลให้กับ 200คนในวันนี้ คำวิจารณ์อาจกระเทือนความรู้สึกของพวกท่าน แต่โดยข้อเท็จจริงเรามีนายพลน้อยกว่าต่างประเทศ ในตะวันตกหรือตะวันออก...จำนวนนายพลในเมืองไทยไม่ได้สูงขนาดนั้น และกองทัพของเราก็ไม่ได้หัวโตอย่างที่พูดกัน จริง ๆ แล้วเล็ก

ในเดือนธันวาคม ในหลวงทรงโทษพลตรีจำลอง พลเอกชวลิตและผู้ประท้วงอีกครั้ง ทรงเล่าเรื่องเปรียบเทียบถึงเด็กที่กำลังมีปัญหา แต่ละเลยการแก้ปัญหา กลับไปยั่วยุช้างตัวหนึ่งจนโกรธ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่รุนแรงตามมาจนในที่สุดก็แก้ปัญหาดั้งเดิมได้หลังเกิดความปั่นป่วนวุ่นวายที่ไม่จำเป็น

“สถานการณ์ในตอนนี้ก็เหมือนในเรื่องที่เล่า สับสน เรื่องใดก็ตาม คนหนึ่งพูดอย่างหนึ่ง อีกคนมาแย้ง ใช้ถ้อยคำที่ไม่ปรองดอง แล้วประเทศจะบริหารไปได้อย่างไร จะทำงานได้อย่างไร จะทำอะไรสำเร็จได้อย่างไร ถ้าทุกสิ่งไม่เข้าขากัน ?... ในท้ายที่สุด คนที่ดันทุรังยึดตำราก็จะเถียงชนะ แต่นั่นไม่ดี ไม่ถูกต้อง... เราต้องไม่สร้างเงื่อนไขมากเกินไป การกระทำใดๆ จะต้องสร้างสรรค์แล้วทุกคนจะมีความสุข

ผู้ฟังเข้าใจดีว่าในหลวงสื่อถึงขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยว่าหาเรื่องไปแหย่ช้างคือทหารที่อยู่ดีๆ จนเกิดปัญหาใหญ่โต หลังฝุ่นควันพฤษภา 35 จางหายไปแล้ว พระองค์ก็ยังทรงปฏิเสธข้อสรุปของนักวิชาการไทยและต่างประเทศที่ว่า ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเป็นผลจากระบบการเมืองที่ไม่พัฒนาต้องพึ่งพาสถาบันพระมหากษัตริย์และกองทัพมากเกินไป

ต้นปี 2536 ขณะที่ไทยกำลังเกิดการขับเคี่ยวระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยและทหารมักใหญ่ใฝ่สูง พม่าก็มีปัญหาเดือดร้อนจากการกดขี่ของคณะทหารวิตกจริตและโหดเหี้ยมที่เรียกว่า สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ หรือ สล้อคSLORC (State Law and Order Restoration Council)



ที่ปราบปรามการลุกฮือของประชาชนในปี 2531
จับกุมคุมขังนักการเมืองรวมทั้งผู้นำฝ่ายค้านคืออองซานซูจี(Aungsan Suu Kyi) ในเดือนตุลาคม 2531 ขณะยังคงถูกคุมตัวในบ้าน ซูจีได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แสดงถึงการที่ทั่วโลกยอมรับการต่อสู้ของพวกเขา


 ต่อมากุมภาพันธ์ 2536 ผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ 8 คนมาเยือนประเทศไทยในฐานะเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดของพม่าเพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ออสการ์ แอเรียส (Oscar Arias) อดีตประธานาธิบดีคอสตาริกา
บาทหลวงเดสมอนด์ ตูตู ( Bishop Desmond Tutu ) จากอัฟริกาใต้ องค์ดาไลลามะ ( Dalai Lama ) แห่งทิเบต และอีกห้าคนได้รับการเชิญจากนักเคลื่อนไหวทางสังคมของไทย ซึ่งก่อความกังวลอย่างมากต่อกองทัพไทย

หลังจากเยือนค่ายผู้อพยพพม่าบริเวณพรมแดนไทยทางภาคเหนือ พวกเขาได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว และต้องตกตะลึงที่ได้ยินในหลวงภูมิพลมีพระบรมราโชวาทแก่พวกเขาว่า อองซานซูจีควรจะเลิกต่อสู้และกลับไปเลี้ยงลูกที่อังกฤษเสีย แล้วปล่อยให้สล้อค ปกครองประเทศไป รัฐบาลทหารเหมาะสมกับประเทศกำลังพัฒนา ในหลวงทรงยืนยันว่าไม่มีความจำเป็นต้องไปสนับสนุนฝ่ายค้านของพม่า ซูจีเป็นแค่ตัวสร้างปัญหา การถือดีในความเห็นที่ดื้อดึงของในหลวงได้แสดงออกชัดอย่างน่าตกใจโดยไม่สนใจกระแสประชาธิปไตยของโลก

นอกจากนั้นพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงชักชวนนักการทูตอเมริกันและนักวิชาการต่างชาติให้ยอมรับรัฐบาลทหารพม่าหรือสล้อค SLORC ว่าเป็นผู้สร้างเสถียรภาพแก่พม่า




ในหลวงภูมิพลทรงมีพระราชดำรัสไม่ต่างจากรัฐบาลทหารพม่าว่า ซูจีแต่งงานกับฝรั่งและร่ำเรียนที่เมืองนอก เธอไม่ได้เป็นตัวแทนคุณค่าดั้งเดิมของพม่า ดังนั้นเธอควรกลับไปอยู่กับครอบครัวที่อังกฤษ






แต่ว่าภายนอกรั้วสวนจิตรดา คนไทยรุ่นใหม่กำลังให้การสนับสนุนซูจี และนโยบายทางการของรัฐบาลที่เพิ่งผ่านการเลือกตั้งเข้ามาของนายชวน หลีกภัย คือ ให้การสนับสนุนขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของอองซาน ซูจี

การเสด็จออกยุติเหตุการณ์พฤษภา 2535 ส่งผลให้บุญญาบารมีของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลในฐานะศูนย์รวมจิตใจของชาติยิ่งสูงส่งลึกล้ำขึ้นไปอีก

พระองค์มิได้ทรงเป็นแค่อนุสาวรีย์แห่งความทรงจำในอดีตเหมือนอย่างพระจักรพรรดิญี่ปุ่น หรือเป็นพระราชาเสเพลฟุ้งเฟ้อเหมือนกษัตริย์แถวมาเลเซียและตะวันออกกลาง หรือเป็นเป้าให้ซุบซิบนินทาเหมือนอย่างบรรดาเจ้าหญิงเจ้าชายของยุโรป แต่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลคือพระมหากษัตริย์ที่ศักดิ์สิทธิ์จริงๆ

เหตุการณ์พฤษภา 35 เป็นตัวชี้สำคัญว่าจำต้องลดบทบาททางการเมืองของพระมหากษัตริย์ เมื่อสังคมเริ่มตื่นตัวได้เรียนรู้ว่าเหตุการณ์นองเลือดพฤษภาเป็นผลมาจากการยอมและการอาศัยพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ชี้ขาดการบริหารประเทศ การเมืองและความยุติธรรม

รัฐบาลต้องปฏิรูปถึงระดับโครงสร้างเพื่อแก้ปัญหาที่ฝังรากลึกในระบบการบริหารประเทศ ให้ทหารกลับเข้ากรมกอง และให้พระเจ้าอยู่หัวกลับไปประทับบนพระราชบัลลังก์ไม่ต้องมากำกับควบคุมการเมืองอีกต่อไป การปฏิรูปทางการเมืองจะไม่สามารถทำได้ตราบใดที่วังยังคงเข้ามายุ่งเกี่ยว

ขณะที่ในหลวงมีพระชนมายุ 65 ชันษา ในปี 2535 ก็ต้องมองถึงอนาคตเมื่อฟ้าชายวชิราลงกรณ์ได้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดา ขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในปี 2530 และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่แผ่ไปทั่วเอเชีย ทั้งธุรกิจ สินค้าบริโภคและบริการต่างๆ คนไทยกระโจนเข้าสู่วัฒนธรรมยุคใหม่ของโลก มีสื่อใหม่ๆ โทรศัพท์มือถือ เคเบิลทีวีจากทั่วโลก และคนต่างชาติที่มาเยือนเป็นปริมาณมหาศาล

วังถือว่าทุนนิยมและบริโภคนิยมโลกาภิวัตน์เป็นศัตรูตัวสำคัญ รวมทั้งประชานิยมสมัยใหม่ที่มาท้าทายพระบารมี ไม่เหมือนจอมพล ป.ในทศวรรษ 2490 หรือคอมมิวนิสต์ในทศวรรษ 2510

ทุนนิยมโลกาภิวัฒน์เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวกว่ามากสำหรับอุดมการณ์ธรรมราชาของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลที่ทรงสร้างสมพระบุญญาบารมีจากการปฏิบัติพระราชกรณียกิจในทศพิธราชธรรม นับเป็นภัยคุกคามที่จะกำจัดพระองค์ออกไปให้พ้นทางรวมทั้งพระราชวงศ์ให้กลายเป็นแค่อนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเพียงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ประชาชนยังคงรักใคร่นับถือ แต่จะไม่ทรงเป็นเจ้าชีวิตที่ทรงพระบรมมหาเดชานุภาพอีกต่อไปแล้ว

ยุคสมัยของระบอบพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งกำลังจะหมดไป แต่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลก็ทรงฝืนสู้กับกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างดื้อรั้น ทรงงัดเอากลยุทธทุกอย่างเพื่อการโฆษณาสร้างภาพเสริมสร้างพระบุญญาบารมีนับตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี 2489

ผลการเลือกตั้งเดือนกันยายน 2535 ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรสช.ของพลเอกสุจินดาได้รับชัยชนะและจัดตั้งรัฐบาล นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ของนายชวน หลีกภัยและพรรคความหวังใหม่ของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีคือนายชวนเป็นนักการเมืองและนักกฎหมายที่สงบเสงี่ยมเจียมตัว ได้ชื่อว่ามือสะอาดและสนับสนุนระบบรัฐสภาและหลักกฎหมาย นายชวนไม่ได้นิยมระบอบสาธารณรัฐ แต่วังก็ไม่ค่อยจะไว้วางใจ

นายชวนได้รับการเลือกตั้งด้วยความคาดหวังที่จะต้องบริหารประเทศด้วยความซื่อสัตย์และเป็นประชาธิปไตย ในขณะที่เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เป็นเวลาห้าปีติดต่อกันและยังคงเติบโตต่อไปในอัตราที่ใกล้เคียงกัน ประชาชนมีการเรียกร้องรัฐบาลมากขึ้น เรื่องคุณภาพชีวิต แก้ปัญหารถติด ให้อากาศบริสุทธิ์ไม่มีมลภาวะ ไม่มีปัญหาน้ำท่วม ชาวบ้านในชนบทเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปที่ดินและหนี้สินของเกษตรกร การกระจายอำนาจ การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีอำนาจจัดงบประมาณ

ประชาชนได้เรียกร้องให้รัฐบาลชวนแก้ไขปัญหาทั้งหมด แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น นายชวนประคับประคองรัฐบาลเกือบสามปีจากพรรคร่วมรัฐบาลที่ไม่ค่อยจะมีความสามัคคี พอจะมีความก้าวหน้าบ้างโดยไม่ต้องอาศัยกองทัพหรือสถาบันพระมหากษัตริย์ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น รวมทั้งกลุ่มนักเคลื่อนไหวและพวกเอ็นจีโอด้านสิ่งแวดล้อม

รัฐบาลนายชวนสนับสนุนให้เอกชนจัดรายการทางโทรทัศน์และวิทยุ มีข่าวเปิดโปงต่างๆมากขึ้น ข่าวในพระราชสำนักถูกลดเวลาและความสำคัญลงไป มีการตั้งสถานีโทรทัศน์ไอทีวีหรือทีวีเสรีซึ่งไม่ได้เสนอข่าวพระราชสำนักในช่วงประมาณสองทุ่มเหมือนช่องอื่น

ในหลวงภูมิพลทรงแอบแทรกแซงการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมีพลเอกเปรมคอยช่วยจัดการ นายกชวนมีพันธะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น


แต่วุฒิสภายังเต็มไปด้วยคนที่ รสช. แต่งตั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงเป็นไปไม่ได้หากกองทัพไม่สนับสนุน แถมยังขัดขวางการแก้ไขกฎเกณฑ์เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ


มีนาคม 2537 นายกชวนได้เข้าพบพลเอกเปรมเพื่อขอให้สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่วุฒิสมาชิกสายทหารเกือบทุกคนมาร่วมประชุมพร้อมสส.ฝ่ายค้าน แล้วพร้อมใจกันโหวตล้มญัตติติแก้ไขรัฐธรรมนูญของนายกชวนในวันถัดจากที่นายชวนไปพบพลเอกเปรม จากนั้นก็ยื่นญัตติเสนอรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และลงมติผ่านวาระแรกไปรวดเดียว โดยมีเนื้อหาเหมือนกับรัฐธรรมนูญฉบับ 2521 ที่ทำให้พลเอกเปรมกับกองทัพครองอำนาจได้อย่างยาวนาน

เป็นการสั่งสอนของกองทัพต่อรัฐบาลนายชวน วุฒิสมาชิกสายทหารที่ปกติจะเข้าร่วมประชุมสภา เพียงเพื่อรักษาสถานภาพด้วยการเซ็นชื่อแล้วก็ออกจากห้องประชุม ในวันที่ 30 มีนาคม และวันที่ 30 เมษายน 2537 พวกวุฒิสมาชิกสายทหารได้เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงเพื่อโหวตล้มญัตติติแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลนายชวนทั้งสองครั้ง
เมื่อรัฐบาลนายชวนยังยืนยันแก้ไขรัฐธรรมนูญ พวกปีกขวาก็ออกมาส่งเสียงข่มขู่แบบปี 2519 นายสมัครโจมตีโดยเรียกข้อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลนายชวนว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองที่รัชกาลที่ห้าได้ทรงวางหลักเอาไว้





นักวิชาการปีกขวาอย่างนายพูนศักดิ์ วรรณพงษ์บอกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการแสดงว่า สส. สามารถเป็นตัวแทนของประชาชนได้ดีกว่าพระเจ้าอยู่หัว โดยสะท้อนพระราชดำริของในหลวงว่าสส. ที่มาจากการเลือกตั้งนั้นสกปรกและทุจริตคอรัปชั่น และการรัฐประหารยึดอำนาจเป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบธรรม

เราต้องเลิกยึดติดกับรัฐธรรมนูญบนกระดาษมากเกินไป ซึ่งไม่ว่าจะเขียนดีแค่ไหนก็พิสูจน์แล้วว่าล้มเหลว...เราต้องให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเรา” ขณะเดียวกันก็มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มอภิรักษ์จักรีที่คล้ายกับพวกกระทิงแดง

ที่ประกาศว่า “ประเทศไทยจะต้องไม่ละทิ้งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ระบอบการปกครองของเราต้องไม่เป็นเหมือนสหรัฐฯ ฝรั่งเศส หรือประเทศคอมมิวนิสต์ พระราชวงศ์จักรีไม่ใช่ไดโนเสาร์
การขมขู่คำรามของพวกขวาจัดคลั่งเจ้าได้ดำเนินไปตลอดทั้งปี และความพยายามของรัฐบาลนายชวนที่ผ่านระบบรัฐสภาต้องล้มเหลวไม่เป็นท่า ในเดือนธันวาคมรัฐบาลนายชวนได้ยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญชนิดที่อ่อนลงมามากแล้ว



พลเอกชวลิตประเมินว่ารัฐบาลนายชวนคงล้มแน่ จึงถอนพรรคจากการร่วมรัฐบาล
โดยหวังว่ารัฐบาลคงพัง และตนเองจะได้เป็นนายกฯคนต่อไปพร้อมด้วยการสนับสนุนจากกองทัพ แต่พลเอกเปรมได้ยื่นมือเข้ามาแทรกแซงอีกครั้ง




แต่คราวนี้เป็นการสกัดกั้นพลเอกชวลิต โดยพลเอกเปรมได้เกลี้ยกล่อมอดีตนายกชาติชายที่เป็นหัวหน้าพรรคชาติพัฒนาให้เข้าร่วมรัฐบาลนายชวนเพื่อให้มีเสียงข้างมาก เป็นการสกัดกั้นพลเอกชวลิต และให้วุฒิสมาชิกสายทหารเปลี่ยนข้างหันมาลงคะแนนสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลนายชวนซึ่งเป็นเพียงประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น แสดงให้เห็นว่า วังที่มีตัวแทนคือพลเอกเปรมที่มีอิทธิพลสูงในกองทัพ และพร้อมจะใช้อิทธิพลในกองทัพเมื่อใดก็ได้ และวังไม่ไว้ใจพลเอกชวลิตยิ่งกว่านายชวนเสียอีก

บางครั้งรัฐบาลนายชวนก็ไม่ปฏิบัติตามพระราชดำริเรื่องนโยบายบายต่างประเทศเกี่ยวกับพม่าและกัมพูชา ทำให้วังและกองทัพต้องเสียหน้า แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงมีพระราชดำริแบบโบราณเหมือนในยุคสงครามเย็นสมัยที่มีการปลุกผีคอมมิวนิสต์รวมถึงทรงมีความเชื่อแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ด้วยซ้ำไป

ในหลวงภูมิพลทรงเชื่อว่าจีน พม่าและโดยเฉพาะเวียตนามยังคงคิดจะยึดครองไทยตลอดเวลา เวียตนามได้แผ่อิทธิพลครอบงำลาวและกัมพูชาที่ทรงถือว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้องจึงเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อราชอาณาจักรไทย ทรงแสดงออกในเรื่องนี้เป็นประจำต่อนักการทูตและนักวิชาการต่างประเทศ รวมทั้งผู้นำทหารของไทย

ก่อนสมัยรัฐบาลนายชวน กองทัพไทยได้เป็นผู้กำหนดทิศทางความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยคงความสัมพันธ์ร่วมมือกันอย่างดีกับ รัฐบาลทหารของพม่า


ประสานงานใกล้ชิดกับกองกำลัง บริเวณพรมแดนไทย-กัมพูชา ร่วมมือกับพอลพตผู้นำเขมรแดงที่เคยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชา


ซึ่งเขมรแดงกำลังต่อสู้กับฮุนเซนที่ได้รับการหนุนหลังจากรัฐบาลฮานอยของเวียตนาม โดยหลักการแล้ว ความสัมพันธ์ที่ไม่จริงใจต่อประเทศเพื่อนบ้านแบบนี้ไม่ได้เป็นคุณหรือมีประโยชน์ต่อประเทศไทยเลย มีแต่พวกทหารระดับนายพลของไทยเท่านั้นที่ได้ประโยชน์กอบโกยเงินหลายร้อยหลายพันล้านบาทจากการตัดไม้ ขุดแร่อัญมณีและธุรกิจอื่นๆ ร่วมกับรัฐบาลทหารสล้อคของพม่าและพวกเขมรแดง

รัฐบาลนายชวนได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายชายแดนโดยประสานงานกับนานาชาติในการสนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชา ธิปไตยของอองซาน ซูจี


และได้สั่งกองทัพไทยตัดสัมพันธ์กับเขมรแดงเพื่อนำนายพอลพตผู้นำเขมรแดงเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามแรงกดดันของนานาชาติ สหประชาชาติก็กำลังเตรียมการเลือกตั้งในกัมพูชา และเขมรแดงก็ได้ข่มขู่จะขัดขวางการเลือกตั้ง

แต่กองทัพไทยกลับปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงท่าทีในทั้งสองกรณี คือกองทัพไทยยังคงทำธุรกิจกับคณะรัฐบาลทหารพม่าต่อไป ขณะที่พวกเขมรแดงก็ทำการโจมตีจากฐานที่มั่นที่ตั้งอยู่ในฝั่งไทยก่อนถึงวันเลือกตั้งในกัมพูชา นักข่าวและเจ้าหน้าที่สหประชาชาติชี้ว่าเขมรแดงสามารถปฏิบัติการคุกคามได้เพราะอาศัยการสนับสนุนจากไทย

รัฐบาลนายชวนต้องเสียหน้าในเดือนสิงหาคม 2536 เมื่อกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติที่ถูกเขมรแดงจับกุมได้พบว่ากองทัพไทยมีการแบ่งปันอาหารและเครื่องเวชภัณฑ์ให้กับพวกเขมรแดง ทำให้นานาชาติพากันประณามรัฐบาลไทย แต่รัฐบาลนายชวนปฏิเสธว่ามันไม่ใช่นโยบายรัฐบาล พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงปกป้องกองทัพ ทรงไม่ยอมรับว่ารัฐบาลทหารของพม่า Slorc เป็นรัฐบาลที่ชั่วร้าย อีกทั้งยังทรงมีท่าทีไม่เข้าใจปัญหาเรื่องเขมรแดง

ทรงกล่าวกับนักการทูตไทยว่าประเทศไทยควรให้ความร่วมมือกับเพื่อนบ้าน เช่น พวกเขมรแดงและไม่ควรใส่ใจกับตำรวจโลก ซึ่งทรงหมายถึงสหรัฐอเมริกา


ทรงตรัสว่า “พม่ากาลังถูกปฏิบัติเหมือนเป็นสิ่งปฏิกูล หากเราผูกมิตรกับคนอย่างนี้ ตำรวจก็ต้องจับเรา ดังนั้นเมื่อเราช่วยพม่า หรือติดต่อสัมพันธ์กับพม่า ประชาคมโลกก็จะปฏิบัติต่อเราเหมือนคนเลวไปด้วย... หากเรายึดตามแนวคิดตะวันตกและเฮโลตามไปกับเขาด้วย โดยบอกว่าพม่าเลว เราก็จะมีเพื่อนบ้านอย่างบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา ”

ส่วนในเรื่องของประเทศกัมพูชา ทรงตรัสว่าเขมรแดงควรมีส่วนแบ่งในอำนาจ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่แบบที่พวกยุโรปได้สร้างขึ้นที่บอสเนีย และทรงกล่าวเสริมอย่างชอบกลว่า “ที่เราต้องการให้เกิดน้อยที่สุดคือการที่กำลังของสหประชาชาติมาใช้ดินแดนของไทยเพื่อแทรกแซงทางการทหารในพม่า”

กองทัพไทยยังร่วมมือกับรัฐบาลทหารของพม่า และพวกเขมรแดงของพอลพตต่อไปด้วยการสนับสนุนให้ท้ายของพระเจ้าอยู่หัว เดือนมีนาคม 2537 เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำกรุงเทพ ได้ยกประเด็นนี้ขึ้นกล่าวต่อสาธารณะ พอกองทัพไทยปฏิเสธเรื่องนี้อีก



ปลายพฤษภาคม อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยนายมอร์ตัน อับบราโมวิทช์ Morton Abramowitz ได้วิจารณ์ในหลวงภูมิพลด้วยถ้อยคำรุนแรงในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์


ว่า “เครื่องมือที่ยังคงหลงเหลืออยู่มีแต่การโน้มน้าวเชิงศีลธรรมและการทูตเท่านั้น ที่จะคอยช่วยย้ำเตือนคนไทยให้ได้สำนึกว่าพวกเขากำลังบ่อนทำลายเพื่อนบ้านและงานที่ประชาคมโลกอุตส่าห์ทุ่มเทกระทำมา กรุงเทพฯกำลังขัดขวางการยกเรื่องนี้ขึ้นมา แต่การทำอย่างนี้ในระดับนานาชาติมีแต่จะทำให้เกิดแรงกดดันเพิ่มมากขึ้นต่อกองทัพไทย และอาจลากเอาคนระดับสูงของไทยรวมถึงพระมหากษัตริย์ที่เป็นที่เคารพเทิดทูนเข้ามาร่วมวงรับแรงกดดันด้วย

การกล่าวพาดพิงในหลวงไม่น่าจะเป็นเรื่องร้ายแรงเพราะพระองค์ก็ทรงประพฤติตามที่ถูกพาดพิงจริงๆ แต่การพูดถึงความจริงดังกล่าวถือว่าเป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ทำให้ คนไทยบางคนต้องแสดงอาการเดือดดาลเพื่อแสดงความจงรักภักดีเป็นที่สุด โดยกล่าวหานายอับบราโมวิทซ์ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและเรียกร้องให้เนรเทศออกนอกประเทศในฐานที่เป็นบุคคลไม่พึงปรารถนาของประเทศไทย

ขณะที่กองบัญชาการทหารสูงสุดปฏิเสธว่ากองทัพไม่ได้ให้ความช่วยเหลือเขมรแดง และได้พยายามแก้ตัวแทนพระเจ้าอยู่หัวว่า “การที่นายอับบราโมวิทซ์ได้กล่าวพาดพิงถึงพระมหากษัตริย์ของไทย เป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเขาไม่เข้าใจอะไรเลยเกี่ยวกับบทบาทของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลในฐานะที่ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศในระบอบที่มีรัฐธรรมนูญ เพราะพระเจ้าอยู่หัวจะไม่ทรงยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเลย ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศ

แต่ว่ากระทรวงต่างประเทศของไทยกลับออกแถลงการณ์ในเรื่องนี้อย่างนุ่มนวล โดยแสดงความเห็นด้วยกับอเมริกันทำให้เกิดแรงกดดันต่อกองทัพจนต้องถอนการสนับสนุนพวกเขมรแดงตลอดปีต่อมา เป็นการตัดท่อน้ำเลี้ยงสำคัญของเขมรแดง

สิ่งบ่งบอกถึงความไม่ค่อยพอพระทัยของในหลวงภูมิพลอีกอย่างคือทรงรื้อฟื้นโทษประหารชีวิตหลังจากได้ระงับไปหลายปี จากเดิมที่นักโทษประหารมีสิทธิถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษจากพระเจ้าอยู่หัว และจะถูกประหารชีวิตก็ต่อเมื่อพระองค์ทรงปฏิเสธฎีกาและคืนกลับให้รัฐบาล

ส่วนใหญ่แล้วในหลวงทรงลังเลที่จะเห็นชอบโดยดึงฎีกาไว้หน่วงเหนี่ยวการประหารออกไป และจะทรงพระราชทานลดโทษหลังจากห้าปีหรือสิบปี มีน้อยครั้งที่จะทรงปล่อยให้มีการประหารชีวิตด้วยการคืนฎีกาคำร้องกลับไปโดยไม่มีพระราชวินิจฉัย ตั้งแต่กลางทศวรรษ 2520 ไม่เคยมีพระราชานุญาตให้ประหารชีวิต

โดยมีจำนวนนักโทษประหารนับร้อยๆ คน ทำให้ทรงมีภาพของพระผู้ทรงพระเมตตามหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น แต่ในกลางทศวรรษ2530 พระองค์กลับโปรดเกล้าฯให้มีการประหารชีวิต โดยปราศจากคำประกาศหรือถ้อยแถลงใดๆ ครั้งแรกในปี 2538


สองสามปีจากนั้น มีการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอีก กรณีฆ่าคนตายและค้ายาเสพติดเห็นชัดว่า
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลตั้งพระทัยปฏิเสธฎีกา บางคนว่าทรงเริ่มหมดความอดทนกับสังคมไทยขณะที่วาระของพระองค์คงใกล้สิ้นสุดลง คนอื่นๆคิดว่าทรงได้ตัดสินใจเด็ดขาดแล้วว่าโทษประหารชีวิตเป็นวิธีการที่เป็นประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อย



แต่ภาพพจน์พระเมตตามหากรุณาธิคุณก็เปลี่ยนเป็นความเด็ดขาด ใช้พระเดชและใช้พระคุณ และได้สร้างบรรทัดฐานแก่กระบวนการยุติธรรมโดยทั่วไป หลังจากนั้นการวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยของตำรวจได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง มันได้ย้อนกลับไปสู่ยุคจอมพลสฤษดิ์ และนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งเป็นช่วงที่กฎหมายถูกมองว่าเป็นอุปสรรคต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม

พระเจ้าอยู่หัวทรงทราบดีว่าการต่ออายุการเสวยราชสมบัติจะต้องรื้อฟื้นเครือข่ายอำนาจที่เชื่อมโยงกับชนชั้นนำของประเทศ โดยมีนายทุนใหม่ๆที่มาจากสามัญชนที่ไม่มีสายสัมพันธ์กับชนชั้นปกครองเก่า และบางทีก็ทำเอาพวกผู้ดีเก่าต้องล้มไปด้วย

เช่น กรณีการล้มละลายของธนาคารกรุงเทพพาณิชยการที่วังมีหุ้นอยู่ด้วย ซึ่งเป็นของสกุลปราโมช เทวกุล และสกุลอื่นๆ ในเครือของราชวงศ์จักรี ในสมัยของนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ คนในวังจำนวนมากรวมทั้งพระราชวงศ์ทรงฝากเงินไว้ที่ธนาคารแห่งนี้

ในอดีตสถาบันพระมหากษัตริย์มักจะสร้างความผูกพันธ์ความจงรักภักดีกับบรรดาครอบครัวร่ำรวยที่สุดของประเทศโดยใช้การแต่งงานระหว่างตระกูลและการลงทุนร่วมกัน แต่รัชกาลที่ 9 ทรงขาดแคลนพระโอรสและพระธิดาที่จะทำอย่างนั้นได้

ทีมงานของวังจึงต้องสร้างพันธมิตรกับพวกเศรษฐีกลุ่มใหม่ เช่น เศรษฐีใหม่เชื้อสายจีนที่ร่ำรวยที่สุดสองคนคือนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อน้ำเมา และนายธนินท์ เจียรวนนท์แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพีที่มีทั้งธุรกิจการเกษตร การค้าปลีกและธุรกิจโทรคมนาคม

มหาเศรษฐีทั้งทั้งสองคนมีความชำนาญในการจ่ายเงินให้กับนักการเมือง รวมทั้งนายทหารและข้าราชการ แต่ละคนได้สร้างความร่ำรวยในระดับหลายหมื่นล้านบาท โดยไม่ได้ขึ้นต่อวัง แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีความสัมพันธ์กับคู่แข่งของพวกมหาเศรษฐีใหม่ นั่นคือ เกษตรกรรายย่อยที่ถูกคุกคามจากระบบเกษตรสมัยใหม่ของเครือซีพี

และทรงมีความสัมพันธ์กับตระกูลผู้ดีเก่า เช่น ภิรมย์ภักดี เจ้าของเบียร์สิงห์ผู้ครองตลาดเบียร์ที่ถูกเสี่ยเจริญแย่งชิงพื้นที่การตลาด การผูกขาดแทบจะโดยสิ้นเชิงของเบียร์สิงห์ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่เจ็ดและพระราชวงศ์หลายพระองค์ก็ร่วมถือหุ้นหรือได้รับประโยชน์ในบริษัทบุญรอด คนในครอบครัวภิรมย์ภักดี ยังได้รับใช้ในหลวงและพระราชินีและแต่งงานกับบรรดาเชื้อพระวงศ์ทำให้ได้เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกัน

ต้นทศวรรษ 2530 เสี่ยเจริญกับเจ้าสัวธานินทร์ ขยายอาณาจักรธุรกิจของตนอย่างรวดเร็วและก้าวเข้าไปในอุตสาหกรรมที่สำคัญอื่นๆ มหาเศรษฐีทั้งสองได้เชิญตัวแทนของพระเจ้าอยู่หัวเข้าไปเป็นผู้บริหารเพื่อแสดงว่ามีผลประโยชน์ร่วมกัน ตัวแทนของในหลวงคนสำคัญ คือพลเอกเปรม เป็นประธานที่ปรึกษาเครือซีพี



พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรีได้เป็นกรรมการของบริษัทในเครือซีพี
หลายแห่ง ตำแหน่งทั้งหมดมีเงินเดือน






ในส่วนของเสี่ยเจริญและคุณหญิงวรรณายิ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดขึ้นไปอีก แม้ว่าเสี่ยเจริญจะแย่งพื้นที่ตลาดเบียร์สิงห์ของตระกูลภิรมย์ภักดีไปบ้างก็ตาม แต่มันกลับเป็นประโยชน์ต่อทางวังเพราะได้ผลประโยชน์ทั้งสองทาง


เสี่ยเจริญเข้าเทคโอเวอร์กลุ่มโรงแรมอิมพีเรียลที่กำลังจะล้มละลาย
พลเอกเปรมได้เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของบริษัทนี้ ลูกพี่ลูกน้องของราชินีสิริกิติ์ มรว. สฤษดิคุณ กิติยากรได้เป็นประธานบริษัท




เสี่ยเจริญตั้งพี่ชายของราชินีสิริกิติ์ที่เป็นองคมนตรีคือ มรว. อดุลกิติ์ กิติยากรเป็นประธานบริษัทเบียร์ช้างที่ตั้งขึ้นใหม่ เสี่ยเจริญกับภรรยาคือคุณวรรณาได้รับเครื่องราชฯ ชั้นสูงได้เป็นคุณหญิง





ที่สำคัญคือการร่วมทุน เสี่ยเจริญผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารมหานคร First Bangkok City Bank มีรัฐบาลถือหุ้น 15% ในการตกลงร่วมทุนทางธุรกิจ แบ่งผลประโยชน์กันอย่างโจ่งแจ้งในปี 2539 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้รับอนุญาตซื้อหุ้นคราวเดียวถึง 15%กลายเป็นหุ้นส่วนคนสำคัญของเสี่ยเจริญ วังได้ใช้วิธีเดียวกันนี้สร้างสายสัมพันธ์กับธุรกิจขนาดใหญ่



ธนาคารกรุงเทพที่ใหญ่ที่สุดของประเทศของตระกูล โสภณพนิช



กำลังถ่ายอำนาจบริหารสู่คนรุ่นต่อไปซึ่งเป็นรุ่นเด็กที่ยังไม่ได้ต่อเชื่อมเข้าไปในสายสัมพันธ์ที่มีมายาวนานระหว่างในหลวงภูมิพลแลชินกับชาตรี โสภณพนิชผู้เป็นรุ่นปู่และรุ่นพ่อตามลำดับ


เพื่อประสานสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น จึงให้พลเอกเปรมเป็นประธานที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพเป็นตัวแทนของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล




พลเอกเปรมยังเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของบริษัทกฤษดามหานครที่ทำหมู่บ้านจัดสรรค์



ภายหลังยังเป็นประธานสายการบินพีบีแอร์(PB Air) ก่อตั้งโดยดร.ปิยะ ภิรมย์ภักดี ประธานบริหาร บริษัทบุญรอด บริวเวอรี่เจ้าของเบียร์สิงห์ เพื่อให้บริการเแก่ผู้บริหาร โดยมีองคมนตรีอื่นๆจับจองเป็นกรรมการตามบริษัทต่างๆ ซึ่งทั้งหมดก็มีรายได้ดี



การที่มี
พลเอกเปรมนั่งค้ำตำแหน่งอยู่ทำให้มีความอุ่นใจว่าธุรกิจพวกนั้นต้องเชื่อฟังวังและตู้รับเงินบริจาคของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลจะเต็มอยู่เสมอ ในอีกทางหนึ่งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เอาเศรษฐีใหม่เข้ามาเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ



สำหรับการลงทุนและที่ดินมหาศาลที่วังมีอยู่ในมือ และวังก็ยังมีส่วนร่วมในโครงการอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก รวมทั้งธนาคารไทยพาณิชย์ของสำนักงานทรัพย์สินฯที่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

โครงการต่างๆ คอนโดมีเนียมหรู อาคารสำนักงาน โรงแรมห้าดาว ห้างสรรพสินค้า เช่น โรงแรมหรู ย่านราชประสงค์ เพรสิเด้นท์โกลเด้น แลนด์ กรุ๊ป President  -  Golden Land group ต่อมาเป็นเพรสซิเด้นท์ทาวเวอร์ ( President Tower ) ของศรีวิกรม์



นายปิ่น จักกะพาก
พ่อมดทางการเงินแห่ง บริษัท
เงินทุนหลักทรัพย์เอกธนกิจ Finance One




แสนสิริ พร็อพเพอร์ตี้ Sansiri Property บริษัทหมู่บ้านจัดสรรค์ ของล่ำซำกับจูตระกูล



อนันต์ อัศวโภคินเจ้าของบริษัทค้าบ้านและที่ดินแลนด์แอนด์เฮ้าส์กับสยามสินธรซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง 3 พันธมิตรผู้ยิ่งใหญ่ คือธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์




ธุรกิจอีกประเภทหนึ่งนำมาซึ่งได้ทั้งผลกำไรและชื่อเสียงทางสังคมให้แก่พวกเศรษฐีใหม่และเป็นที่สนใจของคนในแวดวงของวัง
คือการลงทุนในธุรกิจด้านการศึกษา


โดยสถาบันการศึกษาเอกชนใหญ่หลายแห่ง
ร่วมกับโรงเรียนที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ เช่น โรงเรียนมัธยมแฮโรว์ Harrow Schoolของอังกฤษ



กับวิทยาลัย
ดัลวิค Dulwich College ของลอนดอน และ โรงเรียนภาษาจีลอง Geelong Grammar School ของออสเตรเลีย



ทางราชวงศ์ได้ลงทุนเป็น
หุ้นส่วนโดยตรงกับโรงเรียนภาษาจีลองโดยสร้างโรงเรียนประจำสำหรับลูกหลานของผู้มีอันจะกินที่ดอยตุงซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของพระราชชนนีศรีสังวาลย์








เลขานุการส่วนพระองค์พระชนนีศรีสังวาลย์ มรว. ดิศนัดดา ดิศกุล M.R. Disnadda Diskul ประธานกรรมการ และเลขาธิการ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเสาหลักของดอยตุง เป็นผู้บริหารจัดการดูแล ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติจีลองดอยตุง Geelong Doi Tung เป็นโรงเรียนประจำสำหรับลูกหลานของผู้มีอันจะกินที่ดอยตุงซึ่งเคยเป็นที่ทำกินของชาวเขาแต่เดิม

โรงเรียนเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่ธุรกิจที่จะสร้างผลกำไรเป็นตัวเงินแต่ยังเป็นหลักประกันว่าลูกหลานของพวกเขาจะได้รับการอบรมสั่งสอนในกรอบความคิดของวังและมีความยึดมั่นจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์จักรี

ดอยตุงเป็นอาณาจักรอิสระของราชวงศ์จักรีมีมรว.ดิศนัดดาเป็นผู้ควบคุมทั้งทหารและตำรวจรวมทั้งตชด.มีเวรยามแน่นหนา เคยมีภาพพระราชินีในไร่ผิ่นและมีข่าวบริเวณควบคุมพิเศษโดยเฉพาะส่วนที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชพิเศษและแหล่งผลิตสารเคมีบางชนิด มีการเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้เฉพาะจุดที่กำหนดให้เท่านั้น

มาในระยะหลัง มีข่าวว่าทางดอยตุงได้ส่ง มรว.ดิศนัดดาเข้าไปดูแลและประสานงานกับพวกว้าแดง (Unted Wa State Army / UWSA ) ในเขตประเทศพม่า



ในหลวงภูมิพลมิใช่พระมหากษัตริย์โดยกำเนิด ไม่ใช่รัชทายาทที่เป็นพระราชโอรสของพระมเหสีอย่างเช่นรัชกาลก่อนๆ
พระองค์ได้เป็นกษัตริย์เพราะพระเชษฐาถูกปลงพระชนม์อย่างมีเงื่อนงำ และรัชกาลที่ 8ได้ครองราชย์เพราะคณะราษฎรเห็นว่ายังเป็นเด็ก คงไม่มีพิษภัย


แต่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลได้ทรงก่อร่างสร้างพระองค์โดยฟื้นราชวงศ์จักรีขึ้นมาใหม่พร้อมทั้งระบอบเผด็จการซ่อนรูปที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจ ถือเป็นพระปรีชาสามารถของพระองค์เองโดยแท้ แต่ปัญหาที่สำคัญก็คือรัชทายาทจะสืบทอดพระราชบัลลังก์และรักษาพระราชอำนาจที่ค่อนข้างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดต่อจากพระองค์

.............

ไม่มีความคิดเห็น: