วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ตำนานๆ 009009 เครือข่ายเทวดา

ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/fI9p7cao/The_Royal_Legend_09_.html
หรือที่ :
http://www.mediafire.com/?5z8x0cfuf4woy2m


โปรดทราบ : ไฟล์เสียงที่เคยdownloadไม่ได้ บัดนี้ได้แก้ไขแล้ว
โปรดลองเข้าที่
linkใหม่


.........
ความชอบธรรมและสถานะ
ของคณะรัฐประหาร

นักกฎหมายฝ่ายเผด็จการมักอ้างว่าคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารมีสถานะเป็นกฎหมาย มีความสมบูรณ์ทางกฎหมาย



เพราะเมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจได้สำเร็จโดยไม่มีแรงต่อต้าน คณะรัฐประหารนั้นก็กลายเป็นรัฏฐาธิปัตย์ อำนาจอธิปไตยรวมศูนย์อยู่ที่คณะรัฐประหาร คณะรัฐประหารย่อมสามารถตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับได้ ดังนั้น คำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารทั้งหลายจึงมีสถานะเป็นกฎหมายทั้งๆที่คณะรัฐประหารใช้อำนาจบังคับ
มีการกล่าวอ้าง คำพิพากษาฎีกาที่ 1662/2505 ที่วินิจฉัยว่า ..

..เมื่อ 2501 คณะปฏิวัติ ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติ ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมา ด้วยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสภานิติบัญญัติของประเทศก็ตาม

ฉะนั้น ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ซึ่ง ประกาศคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ บังคับแก่ประชาชนดังกล่าว จึงเป็น กฎหมาย ที่ใช้บังคับในการปกครอง ในลักษณะเช่นนั้นได้ จำเลย จึงอาศัยอำนาจตามประกาศฉบับนี้ทำการจับกุมควบคุมโจทก์ ได้โดยชอบ



ตอกย้ำด้วยคำพิพากษาฎีกาที่ 1234 / 2523
“แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยออกประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่ก็หาได้มีกฎหมายยกเลิก หรือประกาศ หรือคำสั่งคณะปฏิวัติ หรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินไม่ ประกาศหรือคำสั่งจึงยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่”

แต่ศาลฎีกาของไทยไม่ได้อ้างตัวบทกฎหมายประกอบคำวินิจฉัย ว่าอาศัยอำนาจตามความใน กฎหมายฉบับใดมาตราใด ไม่ได้พิพากษาคดีไปตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย ดังที่รัฐธรรมนูญ บัญญัติบังคับไว้ ถือว่า คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

แต่มีการอ้างเป็นแบบฉบับต่อๆมา จะถือว่าเป็นประเพณีไม่ได้เพราะรัฐธรรมนูญห้ามล้มล้างการปกครอง โดยที่กฎหมายอาญาถือว่าเป็นกบฏ ไม่สามารถตรากฎหมายได้ ดังนั้นประกาศคณะปฏิวัติหรือประกาศที่เกิดขึ้นจากคำสั่งของคณะปฏิวัติจึงไม่ถือเป็นกฎหมายต่อไปอีก



เคยมีคำพิพากษาของศาลไนจีเรียและปากีสถานที่ปฏิเสธความเป็นกฎหมายของคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหาร

ศาลไนจีเรียตัดสินว่า “รัฐประหารโดยกองกำลังทหารที่เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลในปี 1968 / 2511 เป็นเพียงการเปลี่ยนอำนาจจากรัฐบาลมาสู่คณะรัฐประหารเท่านั้น ไม่ได้เป็นการล้มระบบกฎหมายเดิม อำนาจนิติบัญญัติขององค์กรผู้มีอำนาจนิติบัญญัติใหม่ จึงต้องขึ้นกับเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญเดิม ประกาศของคณะรัฐประหารไม่ได้เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว ต้องถูกยกเลิก

ส่วนศาลปากีสถาน ตัดสินว่า “ประกาศของคณะรัฐประหารที่ให้อำนาจทหารในการควบคุมตัวบุคคลได้โดยไม่มีกำหนดเวลาย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะประกาศดังกล่าวจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผ่านการยอมรับขององค์กรตุลาการและองค์กรนิติบัญญัติ”

นักกฎหมายไทยยอมรับความถูกต้องของรัฐประหารโดยดูจากอำนาจที่ในการควบคุม มากกว่าจะพิจารณาถึงความถูกต้องของกระบวนการได้มาซึ่งอำนาจ ทั้งๆที่ รัฐประหารเป็นของแปลกปลอมซึ่งไม่มีวันเข้ากันได้กับระบอบประชาธิปไตย คำว่า ประชาธิปไตย ไม่มีทางอนุญาตให้คณะรัฐประหารนำไปแอบอ้างเป็นอันขาด

ประชาธิปไตยในแต่ละประเทศ อาจมีความแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่ลักษณะร่วมกัน คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน รัฐสภาและรัฐบาลมีฐานที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และรัฐประหารเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น รัฐประหารที่อ้างว่าเป็นไปเพื่อประชาธิปไตยแบบไทยๆ แท้จริงแล้วเป็นการแอบอ้างเพื่อปล้นอำนาจของปวงชนเท่านั้น

ควรมีคณะองคมนตรีหรือไม่

การมีคณะองคมนตรีไม่ชอบด้วยหลักประชาธิปไตย เพราะพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญไม่ควรจะทรงมีที่ปรึกษาอย่างอื่นนอกจากคณะรัฐมนตรีของพระองค์

จากหลักการที่ว่าผู้ใดมีอำนาจ ผู้นั้นจะต้องมีความรับผิดชอบ แต่คณะองคมนตรีเป็นผู้ให้ความเห็นต่อพระมหากษัตริย์โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ซึ่งต่างจากคณะรัฐมนตรีซึ่งตัองรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎร

บทบาทหน้าที่ขององคมนตรี
ภายใต้รัฐธรรมนูญ


1.ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ตำแหน่ง “องคมนตรี” มีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพียงแต่ในยุคนั้นใช้คำว่า ปรีวี เคาน์ซิล (Privy Council) หรือ ที่ปรึกษาในพระองค์


สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงมีประเพณีการแต่งตั้งองคมนตรีทุกปี ใน วันที่ 4 เมษายน เนื่องในพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลหรือพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยไม่มีการกำหนดจำนวนโดยต้องอยู่ในตำแหน่งจนสิ้นแผ่นดิน จึงปรากฏว่าตลอดสมัยรัชกาลที่ 6 มีจำนวนองคมนตรีมากถึง 233 คน ทำให้ไม่สดวกต่อการเรียกประชุม

สมัยรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ตั้งสภากรรมการองคมนตรีตามพระราชบัญญัติองคมนตรี 2470 และทรงเลือกผู้ทรง คุณวุฒิในด้านต่างๆ เป็นกรรมการองคมนตรี 40 คน ทำหน้าที่ปรึกษาข้าราชการ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 สภาองคมนตรีจึงถูกยุบ


2.ยุคประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 พรบ.ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 2475 มิได้รับรองสถานะขององคมนตรี รวมถึงรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มา รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่รับรองสถานะขององคมนตรีคือ รัฐธรรมนูญ 2490 แต่ใช้คำว่า อภิรัฐมนตรีแทน หลังจากนั้นรัฐธรรมนูญฉบับต่อ ๆ มาก็รับรองสถานะของตำแหน่งองคมนตรีไว้ทุกฉบับ ในรัฐธรรมนูญ 2490 ให้มีอภิรัฐมนตรี 5 ท่าน แต่รัฐธรรมนูญฉบับต่อ ๆ มาได้เพิ่มจำนวนขององคมนตรีมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นไม่เกิน 8 ท่าน ไม่เกิน 9 ท่าน ไม่เกิน 15 ท่าน และไม่เกิน 19 ท่าน ในที่สุด

หน้าที่ขององคมนตรี รัฐธรรมนูญใช้คำว่า ถวายคำปรึกษาหรือถวายความเห็น คือองคมนตรีจะให้ความเห็นเองโดยที่พระมหากษัตริย์ยังมิได้เรียกปรึกษามิได้ และต้องเป็นความเห็นที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของกษัตริย์ เช่น การพระราชทานอภัยโทษ เป็นต้น

ส่วนหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มักจะเป็นเรื่องของการสืบสันตติวงศ์ เช่น อำนาจในการเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน อำนาจในการจัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลตามพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ การเสนอพระนามผู้สืบสันตติวงศ์ ในกรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลง โดยที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้

องคมนตรีจะใช้อำนาจนอกเหนือไปจากที่รัฐธรรมนูญให้ไว้มิได้ เนื่องจากระบอบประชาธิปไตยมีรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินอยู่แล้ว องคมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ รัฐมนตรี หรือข้าราชการเมืองอื่น

และที่สำคัญต้อง ไม่แสดงการฝักใฝ่พรรคการเมืองใดๆ เจตนารมณ์คือให้ องคมนตรีวางตนเป็นกลางทางการเมือง หากเกี่ยวข้องไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมแล้ว อาจเป็นผลเสียต่อตัวองคมนตรี และอาจส่งผลกระทบต่อพระมหากษัตริย์ เนื่องการเลือกและแต่งตั้ง รวมถึงการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งเป็นพระราชอัธยาศัยของพระมหากษัตริย์ และให้องคมนตรีต้องกล่าวปฎิญาณตนก่อนปฏิบัติหน้าที่ว่า จะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรทุกประการ

แก๊งองคมนตรี



องคมนตรีในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่มี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธาน มีจำนวนทั้งสิ้น 18 ท่าน (ไม่รวมประธานองคมนตรี) มีดังต่อไปนี้





-นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์ ตั้งแต่ 2518 -อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล มูลนิธิชัยพัฒนาและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์





-นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีสายเจ้า หลังการนองเลือด 6 ตุลา 2519 รองประธานกรรมการศูนย์ศิลปาชีพ ที่ปรึกษาพิเศษของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์






-พล.ร.ต. หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช 2517 ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ประธานกรรมการแพทย์อาสา





-พล.อ.อ. กำธน สินธวานนท์ 28 พฤษจิกายน 2530 อดีตผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ประธานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ รองประธานมูลนิธิโครงการหลวง ฯลฯ




-พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา 2534 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ








-พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ 2536 อดีตรองผบ.สูงสุด ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์







-นายอำพล เสนาณรงค์ 2536 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะอนุกรรมการวิชาการ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ






-นายจำรัส เขมะจารุ 2537 อดีตประธานศาลฎีกา และกรรมการกฤษฎีกา








-หม่อมราชวงค์เทพกมล เทวกุล 2540 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตเอกอัคราชทูตหลายประเทศ






-นพ.เกษม วัฒนชัย 2544 อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ






-นายพลากร สุวรรณรัฐ 2545 รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ฝ่ายกิจการพิเศษ และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.ศอ.บต.)







-
นายสวัสดิ์ วัฒนายากร 2545 อดีตรองปลัดกระทรวงเกษตร อธิบดีกรมชลประทาน ตุลาการศาลปกครองสูงสุด รองประธานกรรมการบริหารในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ







-พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 2546 – อดีตผู้บัญชาการทหารบก








-นายสันติ ทักราล 2548 อดีตประธานศาลฎีกา









-พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์ 2548 อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ








-นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ 2550 อดีตประธานศาลฎีกา







-นายศุภชัย ภู่งาม 2551 อดีตประธานศาลฎีกา เป็นผู้นำคณะผู้พิพากษาเข้ารับพระราชกระแสรับสั่งให้ตุลาการศาลช่วยแก้ไขวิกฤตของบ้านเมืองกลางปี 2548







-นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ 2551อดีตประธานศาลฎีกา และรัฐมนตรียุติธรรมของรัฐบาลสุรยุทธ์


-
พล.อ.อ. ชลิต พุกผาสุก
2554 อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้เข้าร่วมการรัฐประหาร 2549 มีบทบาทบ่อนทำลายสนามบบินสุวรรณภูมิและการเร่งรัดซื้อเครื่องบินกริพเพนจากสวีเดน




พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2531 ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีเมื่อ 4 กันยายน 2541

ในการเลือกสรรบุคคลเพื่อเป็นองคมนตรี พลเอกเปรมและวังได้มีแผนมารองรับการยึดอำนาจอย่างถาวร โดยแยกเป็นสายตุลาการ สถาบันการศึกษาชั้นสูง ฝ่ายบริหาร และกองทัพ

ฝ่ายตุลาการ ภายหลังจากที่สามารถย้าย พล.อ.สุรยุทธ์ กลับเข้ามามีอำนาจในกองทัพบกเมื่อปี 2541 เปรมในฐานะประธานองคมนตรีก็เสนอชื่อ นายศักดา โมกขมรรคกุล อดีตประธานศาลฏีกา เป็นองคมนตรี นายสันติ ทักราล ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกาแทน ขณะที่นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาทำงานใกล้ชิดนายสันติ และนายชาญชัยก็ได้ขยับขึ้นเป็นประธานศาลฏีกาต่อจากนายสันติ

ปี 2548 นายสันติ ทักราล เป็นองคมนตรี ขณะที่พลเอกเปรมก็เริ่มเดินสายเรียกร้องเรื่องผู้นำต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม ตามสถาบันการศึกษา ด้วยสายสัมพันธ์อันยาวนานที่พลเอกเปรมมีต่อสถาบันตุลาการ ทำให้อดีตสาม กกต.ที่นำโดยพล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ต้องถูกตัดสินจำคุก 4 ปี และศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยและกรรมการพรรคถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง 5 ปี

สถาบันการศึกษา
สภามหาวิทยาลัยและสภาสถาบันการศึกษามีอำนาจมากในการแต่งตั้งอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ และอนุมัติงบประมาณของ มหาวิทยาลัย ตลอดจนข้อบังคับ และกิจกรรมของมหาวิทยาลัย ฝ่ายเจ้าได้วางเครือข่ายยึดไว้เกือบทั้งหมด

ภายหลังจากที่ ศ.นพ. เกษม วัฒนชัย ได้ถูกทาบทามจากทางวังไม่ให้ร่วมงานกับรัฐบาลทักษิณจึงลาออกตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหลังจากมีปัญหากันเล็กน้อย ทางวังก็รีบตั้งให้เป็นองคมนตรีและก็ยังคงบทบาทอยู่ในเวดวงการศึกษาอย่างเหนียวแน่น นายเกษมเป็นนักโฆษณาชวนเชื่อคนสำคัญให้วัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องรู้รักสามัคคี การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศไทย เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นายกสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่ราชมงคลธัญบุรี กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัยบูรพา กรรมการบริหารและเลขาธิการมูลนิธิอานันทมหิดลและอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน

สถาบันชั้นนำอีกหนึ่งแห่งที่เป็นฐานของระบอบเจ้าคือสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย นายสุเมธเป็นอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)


ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีและกรรมการสภามหาวิทยาลัย (เป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกเผด็จการสุรยุทธ์)







นายชวน หลีกภัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย(ที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์)






นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย ( ลูกน้องสนิทของนายสนธิ ลิ้มทองกุล )






นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย(อดีตหัวหน้าพรรคมหาชนของพลตรีสนั่น)







ศ.นพ. ประเวศ วะสี กรรมการสภามหาวิทยาลัย (ราษฎรอาวุโสนักเรียนทุนมหิดล)





สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็มีนายอำพล เสนาณรงค์ ซึ่งก็เป็นองคมนตรีที่ผูกขาดตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยหลายสมัย นายปราโมทย์ ไม้กลัด และนายแก้วขวัญ วัชโรทัย คนใกล้ชิดวังก็เป็นกรรมการสภาหลายสมัยติดต่อกัน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยได้รับการยกย่องจาก มูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรมให้เป็นบุคคลตัวอย่าง เป็นนักศึกษาแพทย์ทุนอานันทมหิดลคนแรก เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรรมการสภากาชาดไทย ประธานกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย

อีกคนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ คือ นายเกษม สุวรรณกุล ที่เป็นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์ ถึง 4 สมัย เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิยาลัย 6 สมัย เป็นเลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานกรรมการบริษัทการบินไทย นายกสภามหาวิทยาลัยอีก 8 แห่งเช่น ศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับเครื่องราชย์ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษและเป็นบุคคลดีเด่นของชาติ




นายจิรายุ อิศรางกูร ผู้จัดการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็เป็นนายกสภาสถาบันบัณฑิตย์พัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้า




พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ยังเคยเป็นนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี




พระเจ้าอยู่หัวได้ตั้งทุนหลวงหรือทุนอานันทมหิดล เพื่อส่งนักศึกษาที่เรียนเก่งได้ไปเรียนต่างต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2498 และได้ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเทพเป็นประธานบริหารมูลนิธิในปี 2538


คนที่ได้รับทุนอานันทมหิดลที่มีชื่อเสียง คือ นพ.จรัส สุวรรณเวลา นพ.ประเวศ วะสี นายปราโมทย์ ไม้กลัด ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล(ธนาคารกสิกรไทย) นายสุทธิพล ทวีชัยการ(เลขาธิการ กกต.) นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา (เลขาธิการแพทยสภา)นพ.เกษม วัฒนชัย นายนพดล ปัทมะ นายวิรไทย สันติประภพ(บุตรพลต.อ.ประทิน สันติประภพ) ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์

วังได้ดึงคนเก่งๆมาเป็นพวกตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาแม้แต่โครงการสารานุกรมเยาวชน ก็เป็นการปลูกฝังความเชื่อความศรัทธาความจงรักภักดีในสถาบันกษัตริย์อย่างลึกซึ้ง นักวิชาการหรือ นักศึกษาปัญญาชนมีความผูกพันธ์ต้องพึ่งพาและถูกครอบงำโดยพระราชวังมาโดยตลอด ส่วนคนที่กล้ามายืนอยู่ข้างฝ่ายประชาธิปไตยก็จะถูกตำหนิและถูกกีดกันไม่ให้มีความเจริญก้าวหน้า
ฝ่ายกองทัพ

ในช่วงรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ซึ่งถูกโค่นโดยพลเอกเปรมจากการสนับสนุนของวังซึ่งไม่ชอบพลเอกเกรียงศักดิ์เพราะเกรียงศักดิ์ไปล้มรัฐบาลธานินทร์ที่เป็นของเจ้า และไม่เชื่อฟังทางวัง เปลี่ยนนโยบายต่างประเทศอย่างรุนแรงโดยไปเยือนมอสโคว์และเตรียมปรับปรุงความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

แม้ภายหลังที่พลเอกเกรียงศักดิ์ถึงแก่กรรมปลายปี 2546 คนที่เป็นตัวแทนในหลวงภูมิพลไปเผาศพพลเอกเกรียงศักดิ์อดีตนายกรัฐมนตรีก็คือศัตรูคู่แค้นเก่าพลเอกเปรมนั่นเอง ขณะที่ในหลวงทรงตัดสินใจเลือกพลเอกเปรมเป็นขุนพลหลักทางการเมืองและส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่มาตั้งแต่เป็นพลตรีรองแม่ทัพภาคสองทำหน้าที่ปราบคอมมิวนิสต์ภาคอิสานเมื่อ 2516


ปี 2541 พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง นายชวนเป็นนายก ควบกระทรวงกลาโหม พลเอกเปรมก็ได้รับโปรดเกล้าฯเป็นประธานองคมนตรี พล.อ.สุรยุทธ คนสนิทของพลเอกเปรมได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก โดยย้ายจากตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ จึงต้องตอบแทนด้วยการค้ำรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ให้อยู่ครบเทอม และต้องกลับมารับใช้พลเอกเปรมอีกครั้งด้วยการเป็นนายกรัฐมนตรี ให้คปค.ในเวลาต่อมา


พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ได้เป็นองคมนตรี
เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2546 หลังจากถูกนายกทักษิณ ย้ายจากผู้บัญชาการทหารบก ขึ้นไปรอเกษียณในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด จากความขัดแย้งกับรัฐบาลในกรณีหาเรื่องพิพาทกับพม่า สร้างความไม่พอใจให้กับพลเอกเปรมอย่างมาก




ขณะที่พลเอกสุรยุทธ์มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกหัวหน้าคณะรัฐประหารคปค. เพราะมาจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษป่าหวายชนิดคลานตามกันมา

สายการปกครอง
ในปีเดียวกันที่มีการย้ายพลเอกสุรยุทธ์ไปเป็นผบ.สูงสุด มีการยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาตใต้ (ศอ.บต.)ที่มีนายพลากร สุวรรณรัฐเป็นผู้อำนวยการ วังจึงแต่งตั้งนายพลากร เป็นองคมนตรี พอข้ามปี พล.อ.สุรยุทธ เกษียณก็ได้เป็นองคมนตรีเช่นเดียวกัน หลังจากการยึดอำนาจทางวังให้นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี น้องชายนายพลากรเป็นผู้อำนวยการ ศอบต.โดยนายพลากรซึ่งเป็นองคมนตรีมีอิทธิพลและบารมีในสายการปกครองของกระทรวงมหาดไทย เป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดปัตตานี ประธานกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง กรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรรมการธนาคารออมสิน

การจัดวางองคมนตรี
เพื่อโคนล้มรัฐบาลทักษิณ





-พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดูแล สายทหารและข้าราชการหลายกระทรวงและเป็นประธานโค่นล้มรัฐบาลทักษิณและพรรคไทยรักไทย







-นายธานินทร์ กรัยวิเชียรดูแลสาย ศาลและระบบ ตุลาการ มีข้าราชการในกระทรวงยุติธรรมรายงานสายตรงตลอด เป็นคนออกคำสั่งเล่นงานทั้งคุณยงยุทธ์ ติยะไพรัช หมอสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รวมทั้งคดีของนายสมัคร สุนทรเวช

-หม่อมหลวงอัสนี ปราโมชดูแลสายประชาธิปัตย์และสายแพทย์ชนบทและข้าราชการสายสาธารณสุข
-พลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์ ดูแลสายทหารอากาศ และมีส่วนในการกำหนดสเปคการสั่งชื้อเครื่องบินของกองทัพอากาศ รวมถึงการส่งปัจจัยสนับสนุนข้าราชการสายม้อบพันธมิตร ในการปิดสนามบินในภาคใต้ เคยเป็นบอร์ดการบินไทย มีส่วนในการชักชวนการบินไทยหยุดงาน สายนี้มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงการบินไทยรายงานตรงตลอด
-พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลาดูแลสายกระทรวงการต่างประเทศมีข้าราชการระดับสูงในกระทรวงคอยรายงานความเคลื่อนไหวของอดีตนายกทักษิณตลอดเวลารวมทั้งข้อมูลต่างๆ
-นายอำพล เสนาณรงค์ ดูแลข้าราชการหลายกระทรวง
-พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ คุมสายมูลนิธิการกุศลต่างๆและกำกับสายทหารในส่วนภูมิภาค
-นายจำรัส เขมะจารุ เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา เป็นนายเก่าของนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการกลั่นแกล้งนายกสมัคร เรื่องรายการชิมไปบ่นไป
-หม่อมราชวงค์เทพกมล เทวกุล เป็นผู้หาเงินและหาฐานสนับสนุนม้อบพันธมิตร เป็นกลุ่มสายเจ้านายศักดินา คอยโค่นล้มพรรคพลังประชาชน และผลักดันสูตรการเมือง 70-30

-นายเกษม วัฒนชัย ดูแลสายการศึกษา มีความสนิทกับนายวิจิตร ศรีสอ้านในการให้นักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวและครอบงำปลูกฝังความคิดนิยมเจ้าแก่ภาคการศึกษาต่างๆ
-นายพลากร สุวรรณรัฐ ดูแลสายรัฐวิสาหกิจ คอยกำกับให้หยุดงาน รวมทั้งให้ การรถไฟ การไฟฟ้าออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของพวกทักษิณ
-นายสวัสดิ์ วัฒนายากร เคยเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุด คอยกำกับเรื่องการยุบพรรค
-นายสันติ ทักราล เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการตัดสินคดีทางการเมือง
-พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ คอยกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายโผทหารเรือ
-นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ ที่ปรึกษาทางกฎหมายในการเล่นงานพรรคของคุณทักษิณ

รัฐบาลเผด็จการคมช.ได้ตอบแทนองคมนตรีโดยขึ้นเงินเดือนให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ให้ปรับขึ้นเงินเดือนประธานองคมนตรีเป็นเดือนละ 121,990 บาท จากเดิม 114,000 บาท องคมนตรีได้รับ 112,250 บาท จากเดิม 104,500 บาท สำหรับรัฐบุรุษเปรมได้รับเงินเดือนละ 121,990 บาทจากเดิมเดือนละ 100,000 บาท
โดยอ้างว่าอัตราเงินประจำตำแหน่งเดิมไม่สอดคล้องกับภาวการณ์ในปัจจุบัน ทั้งๆที่แต่ละท่านกินเงินเดือนกันคนละหลายๆตำแหน่งอยู่แล้ว

ลำดับปฏิบัติการณ์รัฐประหาร
ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข


เริ่มจากนายผู้ชายได้สั่งนายผู้หญิงให้เรียกพลเอกเปรมวางแผ่นโค่นรัฐบาลทักษิณ พลเอกเปรมจึงเริ่มเดินสายปลุกทหารให้แข็งข้อต่อรัฐบาลในนามของพระเจ้าอยู่หัว

-6 พฤษภาคม 2549 มีการประชุมกัน เจ็ดคนที่บ้านนายปีย์ มาลากุลที่ถนนสุขุมวิท ซอยอุดมสุขเนื้อที่ 5 ไร่ นายปีย์เป็นเจ้าของจส.ร้อย เครือแปซิฟิค หนังสือดิฉัน คอสโมโพลิตัน เคยบริหารไอทีวี เป็นพระสหายใกล้ชิดในหลวงมีห้องเล่นไพ่ของพระราชินี มีพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี, นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา , นายอักขราทร จุฬารัตน์ ประธานศาลปกครองสูงสุด, นายจรัล ภักดีธนกุล เลขานุการประธานศาลฎีกา, นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการผู้เขียนบทความกล่าวหา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์ พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี และนายปีย์ ร่วมปรึกษาหารือกันจัดตั้งขบวนการขับไล่รัฐบาลทักษิณ และการลอบสังหาร รวมทั้งวางแผนสำรอง คือการรัฐประหาร

-8 พฤษภาคม 2549 ตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เพราะคนใช้สิทธิ์เลือกตั้งหันก้นออกนอกคูหา
-18 พฤษภาคม 2549 มีการตีพิมพ์บทความปฏิญญาฟินแลนด์ในสื่อผู้จัดการ ขณะที่พลเอกเปรมได้บอกให้ดร.วิษณุ เครืองามและดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ซึ่งเป็นคนสงขลาทั้งคู่ให้ถอนตัวจากการทำงานให้รัฐบาลทักษิณ
-24 สิงหาคม 2549 มีการทำคาร์บอมบ์ใกล้แยกบางพลัดโดยคนของพลเอกพัลลภ จ่ายักษ์บอกถ้าฆ่าไม่ตายก็จะวางแผนปฏิวัติ ต่อมามีการตัดสินคุก 4 ปี แค่ข้อหาเคลื่อนย้ายอาวุธ

-15 กันยายน 2549 มีการใช้อำนาจศาลสั่งจำคุก กกต. ชุดพล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ 3 คนโดยไม่รอลงอาญา เพื่อบังคับให้ออกจากตำแหน่ง เป็นการสั่งสอนที่ไม่ยอมฟังราชโองการลับ
-16 กันยายน 2549 นักวิชาการใหญ่ 25 คนไปพบพลเอกเปรม มีการส่งสัญญาณให้เผด็จศึก นายสนธิลิ้มกับท่านผู้หญิงเข้าเฝ้าพระราชินี ทรงย้ำให้ระดมมวลชนมาให้มากที่สุด และบอกแผนว่าเตรียมให้ทหารยึดอำนาจแล้ว ไม่ให้นายกทักษิณเข้าประเทศ สนธิ ลิ้มได้ไฟเขียวรีบระดมคนทันทีที่ธรรมศาสตร์ใช้สัญลักษณ์สีเต็มที่แบบไม่ปิดบัง เช่นฟ้าเปิดแล้ว ส่วนประสงค์ สุ่นศิริ ให้สัมภาษณ์เรื่องนายกทักษิณไปประชุมยูเอ็นว่า งวดนี้ไปแล้วจะไม่ได้กลับ

-19 กันยายน 2549 มีการรัฐประหาร โดยทุกฝ่ายมากันครบขาดเพียงผู้บัญชาการตำรวจพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ข่าวว่าไปหลบอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยสามพราน พระราชินีจึงให้คนโทรศัพท์ไปขู่ว่าจะปลดถ้ายังไม่มาร่วมคณะรัฐประหาร งานนี้นายผู้ชายกำชับให้พลเอกเปรมเป็นหัวหน้าบัญชาการแต่ผู้เดียว

-1 ตุลาคม 2549 พลเอกสุรยุทธ์ขึ้นเป็นนายกหลังการยึดอำนาจ
-30 พฤษภาคม 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย ประชาธิปัตย์สบาย
-23 ธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนที่แปลงร่างจากไทยรักไทยชนะเลือกตั้ง เป็นรัฐบาล
-13 ตุลาคม 2551 พระราชินีเสด็จงานศพน้องโบว์ พระราชทานเงินจากในหลวง


-25 พฤศจิกายน 2551 พันธมิตรเสื้อเหลืองยึดสนามบินสุวรรณภูมิ



-2 ธันวาคม 2551 ตุลาการรัฐธรรมนูญยุบพลังประชาชน กับพรรคชาติไทย และมัชฌิมา 3 องค์กรเอกชนสังกัดเจ้า ( สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมธนาคารไทย ) ออกแถลงการณ์ ให้ฝ่ายทักษิณยุติการตั้งรัฐบาล เปิดทางให้ ประชาธิปัตย์ตั้งรัฐบาล ทหารดึงนายเนวิน ไปจัดขั้วใหม่กับพรรคประชาธิปัตย์ ในค่ายทหาร
-25 มีนาคม 2552 ทักษิณโฟนอินแฉแก๊ง 7 คนประชุมบ้านปีย์โค่นตนเองลงจากเก้าอี้

-11 เมษายน 2552 ประชุมอาเชียนซัมมิทพัทยาล่ม นายอภิสิทธิ์รีบไปค่ายทหารเสือที่ชลบุรี มีสตรีสูงศักดิ์ลึกลับบัญชาการอยู่ที่นั่น
-12 เมษายน 2552 ออกพระราชกำหนดฉุกเฉินในกรุงเทพ
-13 เมษายน 2552-สื่อและนักวิชาการลงชื่อแถลงการณ์สนับสนุนพันธมิตรเสื้อเหลืองส่งคนออกป่วนผสมโรงกับเนวินให้เกิดภาพว่าพวกเสื้อแดงก่อการจลาจลเผาบ้านเผาเมือง

การใช้ตุลาการ
เพื่อทำลายประชาธิปไตย


รัฐธรรมนูญ 2550 พยายามทำให้สถาบันที่เป็นการเมืองเป็นเรื่องน่ารังเกียจยิ่งขึ้น โดยการเอาฝ่ายตุลาการเข้ามาเป็นหัวหน้าของระบบราชการ แทนการให้ทหารออกหน้าดังเช่นในอดีต ตุลาการมีหน้าที่รักษาระบบราชการไว้ มีอำนาจในการควบคุม ส.ส. เช่น กกต.มีอำนาจอนุมัติและเพิกถอนสมาชิกภาพของ ส.ส. ที่เป็นตัวแทนของประชาชน ให้อำนาจกับองค์กรอิสระที่รังเกียจการเมือง ให้คอยเล่นงานนักการเมืองและพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะไม่เชื่อมั่นประชาชน เห็นว่าประชาชนนั้นมักจะเลือกคนเลวเข้ามาเป็น ส.ส.เสมอ
รัฐธรรมนูญ 2550 มีความเชื่อว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและนักการเมือง เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ต้องการแสวงหาแต่ผลประโยชน์ ในขณะที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ใช้ไม่ได้ชอบขายเสียง
แต่มีความเชื่อว่าตุลาการผู้พิพากษา เป็นคนที่ไม่มีกิเลส ไม่มีตัณหา ไม่มีราคะ เห็นแก่ประโยชน์ของสังคมและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง จึงให้บทบาทสำคัญแก่ตุลาการและผู้พิพากษาฝ่ายตุลาการได้ก้าวล่วงไปใช้อำนาจกำจัดฝ่ายบริหารตามพระบรมราโชวาทที่อ้างว่าต้องแก้ไขวิกฤติการณ์การเมือง และให้มีอำนาจในการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ระบบการเมือง การคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา การคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกกกต. เลือกปปช. เลือกคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และเลือกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เป็นการฟื้นระบอบอำมาตยาธิปไตยโดยผ่านใช้ข้าราชการตุลาการชั้นผู้ใหญ่ของระบอบเจ้า

ตุลาการเครือข่ายเจ้า


นายอักขราทร จุฬารัตน์ ประธานศาลปกครองสูงสุดผู้สืบเชื้อสายมาจากเฉกมะหะหมัดสมุหราชนายกสมัยพระเจ้าทรงธรรมแบบเดียวกับพลเอกสนธิหัวหน้ากบฏคปค. ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ รับหน้าที่ยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด 111 คน เป็นเวลา 5 ปี ศาลปกครองรับงานบั่นทอนอำนาจรัฐบาลจากการเลือกตั้ง เช่น มีคำสั่งเพิกถอน พระราชกฤษฎีกาแปรรูปการไฟฟ้า และมีคำสั่งคุ้มครองการออกอากาศเอเอสทีวีของนายสนธิ

นายนาม ยิ้มแย้ม เป็นประธานคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนของกกต.กรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวหาว่ามีการจ้างพรรคการเมืองลงสมัครเลือกตั้งสส. เมื่อ 2 เมษายน 2549 มีมติให้ยุบพรรคไทยรักไทยและให้ดำเนินคดีคณะกรรมการบริหารพรรค หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้เป็นประธาน คตส. ตามประกาศคปค.


นายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นเลขาธิการประธานศาลฎีกามีบทบาทแถลงข่าวแทนฝ่ายตุลาการในการล้มล้างบ่อนทำลายรัฐบาลทักษิณและระบอบประชาธิปไตยตามพระราชประสงค์ ได้เป็นเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมหลังการยึดอำนาจของคปค.ตามมาช่วยงานนายชาญชัย ประธานศาลฎีกาและเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทำงานบ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตยต่อไป

นายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ในรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์, หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, ธานินทร์ กรัยวิเชียร และพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม และรัฐบาลชาติชาย เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลอานันท์ และรัฐบาลพลเอกสุจินดา ในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้เป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติของคปค. เป็นที่ปรึกษา คปค.ฝ่ายกฎหมาย มีบทบบาทร่างแถลงการณ์ประกาศ และคำสั่ง คปค. หลายฉบับ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่วมกับนายวิษณุ เครืองาม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถอนตัวออกไปหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เนื่องจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทการทำงานในอดีต

จะเป็นประชาธิปไตย
ต้องยกเลิกกฎหมายเผด็จการทหาร


หลังรัฐประหาร 19 กันยา คณะรัฐประหารและพวกได้ผลิตกลไกทางกฎหมายเป็นจำนวนมากที่ใช้แทรกแซงการเมืองในระบบเช่น ประกาศ คำสั่ง ของคณะรัฐประหาร และกฎหมายที่สภานิติบัญญัติของคณะรัฐประหารตราขึ้นมา ทั้งๆที่การรัฐประหารเป็นของแปลกปลอมในระบอบประชาธิปไตย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีโทษทางอาญา ไม่มีรัฐธรรมนูญใดในโลกที่อนุญาตให้ใครทำรัฐประหารได้ตามใจชอบ คณะรัฐประหารจึงต้องพึ่งพาองค์กรตุลาการเพื่อให้นำกฎหมายของตนไปใช้บังคับ และเสริมสร้างตุลาการโจร เพื่อชี้ว่านักการเมืองเป็นคนเลว การเลือกตั้งเป็นเรื่องสกปรก แต่องค์กรตุลาการเป็นคนดี มีคุณธรรม มีความเป็นกลาง ปราศจากผลประโยชน์ จึงต้องให้อำนาจองค์กรตุลาการควบคุมนักการเมืองและระบบการเมือง

การยืมมือองค์กร ตุลาการในการปราบปรามฝ่ายตรงข้าม เป็นวิธีที่แนบเนียน เพราะอ้างได้ว่าต้องมีองค์กรตุลาการทำหน้าที่ควบคุมการใช้อำนาจ และคำวินิจฉัยขององค์กรตุลาการถือว่าเป็นที่สิ้นสุดและห้ามวิจารณ์เพราะจะถือว่า หมิ่นศาล
เป็นการทำให้นักกฎหมายและตุลาการเป็นใหญ่กว่าอำนาจของปวงชน เป็นเครื่องมือใช้สร้างความชอบธรรมให้กับการใช้อำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย กลไกทางกฎหมายจึงบิดเบี้ยวไปจากที่ควรจะเป็น ทำให้บรรดาข้าราชการระดับสูงมีบทบาทและอำนาจอย่างมาก และลดทอนอำนาจการตัดสินใจของประชาชนในสาระสำคัญ ทำลายความสำคัญของพรรคการเมือง กีดกันโอกาสในการเข้าไปดำเนินนโยบายของพรรคการเมือง ไม่สนับสนุนรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ มุ่งหมายให้การกำหนดทิศทางของประเทศขึ้นอยู่กับกลุ่มคนเพียงกลุ่มหนึ่งกลุ่มเดียว

อำนาจของ กกต.
ในการแจกใบเหลือง-ใบแดง

การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือในการแสดงเจตจำนงของประชาชนผู้ทรงอำนาจอธิปไตยได้อย่างชัดเจนที่สุดในระบอบประชาธิปไตย เมื่อประชาชนได้ใช้อำนาจอธิปไตยของตนเองผ่านการเลือกตั้งแล้ว การใช้อำนาจอธิปไตยนั้นต้องมีผลทันที โดยไม่มีองค์กรใดมากีดขวาง

แต่รัฐธรรมนูญกลับให้ กกต. เพียง 5 คน เป็นผู้คั่นกลางในการเลือกตั้ง มีอำนาจประกาศผลการเลือกตั้งหรือให้ใบเหลือง-ใบแดงผู้สมัคร อำนาจเช่นว่านี้ยังมีผลเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง ไม่อาจมีองค์กรอื่นใดทบทวนคำวินิจฉัยของ กกต.ได้
ใบเหลือง -ใบแดง นอกจากจะไม่ทำให้เกิดการเมืองขาวสะอาด ซึ่งเป็นเรื่องเพ้อฝัน ยังกลับกลายเป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้การเมืองได้เดินหน้าต่อไปอย่างที่ควรจะเป็น เป็นการบิดเบือนเจตจำนงของประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย เพราะ กกต.มีอำนาจในการไม่รับรองเสียงที่ประชาชนลงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทั้งยังให้อำนาจกกต.ในการยุบพรรคเพียงแค่หาเรื่องแจกใบแดงแก่กรรมการบริหารพรรคก็สามารถยุบพรรคได้แล้ว

เกมทางการเมืองได้แปรสภาพให้เป็นเกมทางกฎหมายจำนวนมาก โดยใช้ข้าราชการตุลาการชั้นผู้ใหญ่ที่เติบใหญ่มาจากระบอบเจ้า เพราะเมื่อมาในนามของกฎหมาย ย่อมมีความขลัง มีความศักดิ์สิทธิ์ มีผลเป็นที่สุด ให้ทุกคนต้องยอมรับ แต่ประชาชนก็ได้เห็นชัดเจนแล้วว่าพวกตุลาการเหล่านี้ได้ทำลายหลักการของกฎหมายและระบอบประชาธิปไตยอย่างไม่มีชิ้นดี ในขณะที่องคมนตรีก็ทำหน้าที่รับใช้เจ้าในการขัดขวางและทำลายระบอบประชาธิปไตยโดยควบคู่กันไป โดยที่พระเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงเดือดร้อนอะไรด้วยเลย

............

ไม่มีความคิดเห็น: